ชื่องานวิจัย : ผลของสารสกัดสมุนไพรต่อเอนไซม์ pancreatic lipase และ HMG-CoA reductase
ผู้แต่ง : สมจิตร์   เนียมสกุล
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อคัดกรองสมุนไพรที่อาจมีศักยภาพในการลดระดับไขมันในเลือด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรในหลอดทดลอง ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 2 ชนิด ได้แก่ เอนไซม์ pancreatic lipase ที่ทำหน้าที่ในการย่อยไขมัน และเอนไซม์ HMG-CoA reductase ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์คอเลสเตอรอลจากผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหยาบของสมุนไพรไทย จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ใบบัวหลวง ใบฝรั่ง ใบย่านาง ใบมะรุม ใบตะลิงปลิง เหง้าข่า ใบชะมวงใบยอ และส่วนใต้ดินปัญจขันธ์ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ pancreatic lipaseได้ในความแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบด้วยค่า 50% inhibitory concentration (IC50โดยใช้ orlistat เป็นสารควบคุมบวก (positive control) จากนั้น สารสกัดหยาบถูกนำมาสกัดแยกส่วนต่อให้บริสุทธิ์โดยใช้เทคนิคการพาทิชันและคอลัมน์โครมาโทกราฟี ซึ่งเมื่อนำตัวอย่างดังกล่าวมาทดสอบฤทธิ์ พบว่าส่วนสกัดแยกส่วนของสารสกัดเอทานอลของบัวหลวง (Nn-E3มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์pancreatic lipaseได้ดีที่สุด โดยมีค่า IC50เท่ากับ 36.80 มคก./มลส่วนการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์HMG-CoA reductaseของสารสกัดหยาบและส่วนสกัดที่ถูกทำให้บริสุทธิ์ขึ้นจากสารสกัดสมุนไพรไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ใบบัวหลวง ใบฝรั่ง ใบชะมวง ใบยอ และใบตะลิงปลิง โดยใช้ pravastatin เป็นสารควบคุมบวก พบว่าส่วนสกัดแยกส่วนของสารสกัดเอทานอลของชะมวง (GC2และส่วนสกัดแยกส่วนของสารสกัดเอทานอลของบัวหลวง (Nn-E4มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยสามารถยับยั้งเอนไซม์ชนิดนี้ได้อย่างสมบูรณ์ (100%) ที่ความเข้มข้น 10 มคก./มลผลจากการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีประโยชน์ในการใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อคัดกรองสมุนไพรที่อาจมีศักยภาพในการใช้ลดระดับไขมันในเลือด โดยอาจนำไปศึกษาวิจัยต่อในการแยกหาสารออกฤทธิ์ และอาจนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันสูงต่อไปในอนาคต

คำสำคัญลดไขมันสมุนไพร

The present study was conducted to screen the potential lipid-lowering effect of medicinal plants. The aim of this research was to perform in vitro assay to determine the inhibitory activity of plant extracts on two enzymes of pancreatic lipase and HMG-CoA reductase that are important for lipid digestion and cholesterol synthesis, respectively. The pancreatic lipase inhibitory activities were tested with nine Thai medicinal plants, namely Nelumbo nucifera Gaertn. leaves, Psidium guajava L. leaves, Tiliacora triandra(Colebr.) Diels leaves, Moringa oleifera Lamk. leaves, Averrhoa bilimbi L. leaves, Garcinia cowa Roxb. ex DC. leaves, Morinda citrifolia L. leaves, and Gynostemma pentaphyllum (Thunb.) Makino. roots, and Alpinia galanga (L) Willd rhizomes. The results showed that each crude extract demonstrated different potency inhibitory activities against pancreatic lipase represented by 50 percent inhibitory concentration (IC50). Then, these crude extracts were further purified using partition and column chromatography techniques. It was found that the partial purified portion of the ethanolic extract of lotus leaves, N. nucifera Gaertn. (Nn-E3), showed the best activity against the pancreatic lipase enzyme with IC50 at 36.80 μg/ml. Orlistat was used as a positive control as a pancreatic lipase inhibitor. Crude and partial purified extracts from five Thai medicinal plants, namely N. nucifera leaves, G. cowa leaves, M. citrifolialeaves, P. guajava leaves, and A. bilimbi leaves, showed inhibitory activity against HMG-CoA reductasewhere pravastatin was used as a positive control. Among these extracts, the most potent ones were the partial purified portion of the ethanolic extract of G. cowa leaves (GC2) and the partial purified portion of the ethanolic extract of N. nucifera leaves (Nn-E4), which completely inhibited HMG-CoA reductaseenzyme (100% inhibition) at 10 μg/ml concentration. The results of this study will be useful to further investigate and identify the active compounds from the potential herbs. Development of herbal products for treatment of patients with hyperlipidemia may be possible in the future.

Key words:  Lipid lowering, pancreatic lipase, HMG-CoA reductase

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สมจิตร์ เนียมสกุล และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921076
This Month : 21463
Total Users : 1530589
Views Today : 1070
Server Time : 2024-09-21