ชื่องานวิจัย : การประเมินผลการรักษาและความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยด้วยเครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส
ผู้แต่ง : นายแพทย์   สมนึก   ศิริพานทอง
ชื่อวารสาร : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2005
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     อาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เป็นปัญหาที่พบได้ทั้งภาวะเฉียบพลันและเรื้อรัง ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยมาก ยังส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การบริหารด้วยเครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส เป็นการผสมผสานระหว่างการออกกำลังกายและการนวด โดยกระทำต่อส่วนของร่างกายด้วยกระบวนการที่เป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลในการบำบัดรักษาความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ

การวิจัยแบบนำร่องครั้งนี้ ใช้วิธีศึกษาไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการผลการบำบัดรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย เครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บีเอ็ม เอส กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้สึกเจ็บปวด เครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส วิเคราะห์ข้ัอมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเจ็บปวดก่อน และหลังจากการรักษาด้วยเครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษา พบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเจ็บปวดหลังการรักษาลดลงกว่าก่อนการรักษาร้อยละ 62.39

2. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเจ็บปวดภายหลังการรักษาลดลงกว่าก่อนการรักษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

3. ไม่พบผลแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยเครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส

ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อด้วยเครื่องบริหารกล้ามเนื้อระบบ บี เอ็ม เอส เป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการปวด

 

Muscle painis a common problem either in chronic or acute form. The problem cause the patient miserable and limited daily life activities. Biomechanical Muscle Stimulation (BMS) is a new combined machine for exercise and massage invented with innovative medicine science. BMS is a good system for therapy of muscle problems.

The purpose of this prospective, pilot research was to investigate the effect of therapy with Biomechanical Muscle Stimulation on patients with muscle pain. Twenty patients were selected by purposive sampling from the patient who have muscle pain in Sappasitthiprasong hospital. The research instruments were the Demographic Data Recording Form, visual analog scale, and Biomechanical Muscle Stimulation. Data were analyzed using descriptivestatistic, and Repeated measures analysis of variance : MANOVA. The results revealed that :

1. The level of pain after participating in therapy with Biomechanical Muscle Stimulation was lower than that of before participating in therapy with Biomechanical Muscle Stimulation 62.39%

2. The level of pain after participating in therapy with Biomechanical Muscle Stimulation was significantly lower than of before participating in therapy with Biomechanical Muscle Stimulation   ( < .001)

3. The subjects have no adverse that the therapy with Biomechanical Muscle Stimulation should be alternative medicine for who have muscle pain.

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นายแพทย์สมนึก ศิริพานทอง

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921805
This Month : 22192
Total Users : 1531318
Views Today : 5008
Server Time : 2024-09-21