ชื่องานวิจัย : การทำสมาธิด้วยพลังพีระมิดลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดใหญ่
ผู้แต่ง : สิริรัตน์   จันทรมะโน
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษานี้ทำเพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดและความถี่ของการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองตัวอย่างศึกษาเป็นชาย กำหนดคุณสมบัติเจาะจงและแบ่งกลุ่มแบบจับคู่เป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๕ คน. กลุ่มทดลองได้รับยาบรรเท่าปวดหลังผ่าตัดตามแบบการรักษาของแพทย์ ร่วมกับการทำสมาธิด้วยพลังพีระมิด. กลุ่มควบคุมได้รับยาแบบกลุ่มแรกแต่ไม่ได้ทำสมาธิ. การวัดระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดทำ ๒ ครั้ง คือ เมื่อครบ ๒๔ และ ๔๘ ชั่วโมง โดยวิธีให้คะแนนตามการแสดงความเจ็บปวดทางสีหน้า และโดยวาจาตามวิธีของบำเพ็ญจิต แสงชาติ, นับและบันทึกจำนวนครั้งของการให้ยาระงับปวดในช่วงเวลา ๒๔ และ ๔๘ ชั่วโมง. วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีและไฆสแควร์.

ผลการวิจัย: ๑. กลุ่มทดลองมีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดใน ๒๔ และ ๔๘ ชั่วโมงต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. ๒. กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนครั้งของการได้รับยาระงับปวดหลังผ่าตัดในช่วย ๒๔ และ ๔๘ ชั่วโมงไม่แตกต่างกันโดยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ มากกว่า ๐.๐๕. ค่าเฉลี่ยของการได้รับยาระงับปวดหลังผ่าตัดใหญ่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในช่วง ๒๔ ชั่วโมงเท่ากับ ๒.๖๖, ๓.๕๓ และ ๔๘ ชั่วโมงเท่ากับ ๐.๑๓, ๐.๐๖ ตามลำดับ.

ได้อธิบายว่าการใช้สมาธิด้วยพลังพีระมิดบำบัดมีผลช่วยลดระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดใหญ่ เนื่องจากพลังพีระมิดช่วยทำให้จิตนิ่งเกิดสมาธิง่าย แม้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เคยมีประสบการณ์การทำสมาธิมาก่อนก็ตาม และในกรณีผู้ป่วยที่ได้รับทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง หรือรายที่มีอาการทรุดหนัก.

คำสำคัญ: สมาธิ, พลังพีระมิด, บรรเทาความเจ็บปวด, การผ่าตัดใหญ่

The purpose of this study was to investigate the effect of meditation under pyramid power on postoperative pain relief subjectively, i.e., pain scores and the frequency of analgesic used in patients who underwent major surgery. The study was a quasi-experimental design. Data were collected from male subjects randomly put into two purposive and matching groups. Fifteen patients were placed in each group. The patients in the studied group received the conventional physician’s order, i.e., analgesics as necessary (prn) and nursing care in addition to meditation under pyramid power, whereas the patients in the control group received conventional post-operative care but without the addition of meditation. The post-operative pain levels were measured at 24 hours and 48 hours post-operatively, using the Face Scale and Word Pain Scale modified from that invented by Bumpenchit Sangchart. The amounts and frequencies of the analgesic given were recorded. Data were analyzed using the t-test and Chi-square (c2) test.

The results were as follows:

1. There were statistically significant differences in pain levels at 24 hours and 48 hours post-operationbetween the experimental group and the control group (p < 0.05).

2. There were no statistically significant differences in the frequency of analgesic usage at 24 hoursand48 hours post-operatively between the experimental group and the control group (p > 0.05).

The success of the meditation performed under pyramid power that relieved post-operative pain isascribed partly to the help of pyramid power to achieve mental concentration easily, even in patients whohad no meditation experience or those with chronic pain and/or in poor condition.

 

Key words : meditation, pyramid power, pain relief, major surgery

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สิริรัตน์ จันทรมะโน

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920624
This Month : 21011
Total Users : 1530137
Views Today : 8374
Server Time : 2024-09-20