บทคัดย่อ

ในการศึกษาการใช้น้ำมูตรบำบัดในเครือข่ายชาวอโศกเพื่อศึกษาปัสสาวะบำบัด หรือน้ำมูตรบำบัด (Urine therapy) หรือการใช้ปัสสาวะของตัวเองเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรค และส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มชาวอโศก เพื่อทราบถึงวิธีใช้ เหตุผลที่ใช้ และผลข้างเคียงจากการใช้ปัสสาวะบำบัด การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) ณ จุดเวลา (Cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ชุมชนชาวอโศกที่มีการใช้น้ำปัสสาวะบำบัด จำนวน 204 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเองกับชาวชุมชนอโศกที่สมัครใจให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์

กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 ราย อายุเฉลี่ย 51.3 (14.1) ปี พิสัย 18-87 ปี เป็นหญิง 61.3%  การศึกษาระดับประถมศึกษา 42.6%  มัธยมศึกษา 21.1%  โดยที่ 68.8% อาศัยอยู่ในเขตเมือง/เทศบาล  ในด้านอาชีพส่วนใหญ่เป็นนักปฏิบัติธรรม 40.7%  รับจ้าง 14.7%  และข้าราชการบำนาญ 10.3%  สำหรับแหล่งข้อมูลความรู้กลุ่มตัวอย่างทราบข้อมูลเรื่องปัสสาวะบำบัดมาจากพระ 46%  จากญาติธรรม 40%  จากการอ่านหนังสือ 36%  และจากพระไตรปปิฎก 29%  สำหรับวิธีการใช้ ใช้ดื่ม 96%(โดยเฉลี่ยดื่มครั้งละ 1 แก้ว 1 ครั้ง/วัน)  ใช้ทา 28%  ใช้หยอดตา 32%  ใช้สระผม 19%  ใช้อาบ 12%  ส่วนสาเหตุหลักที่จูงใจให้ใช้ำน้ำมูตรบำบัด 58% ตอบทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า  38% ตอบมีผู้แนะนำให้ใช้  และ 29% คิดว่าไม่มีผลข้างเคียง ระยะเวลาที่ใช้เฉลี่ย 6.2(6.2) ปี โดยที่ 52% ใช้ปัสสาวะบำบัดเพื่อรักษาโรค  40% ใช้เพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และ 31% ใช้เพื่อป้องกันโรค  ผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์หลังใช้น้ำมูตรบำบัด พบว่า ส่วนใหญ่ 85% ไม่มีอาการ  10% มีอาการ คือ ท้องเสีย 5 ราย (2.5%)  ไข้ อ่อนล้า คัน อย่างละ 2 ราย (1%)  ส่วนใหญ่ของผู้ใช้ 87% ตอบได้ผลจากการใช้น้ำปัสสาวะบำับัด และ 84% ได้แนะนำให้ผู้อื่นใช้ด้วย

เอกสารฉบับเต็ม

การใช้น้ำมูตรบำบัดเครือข่ายชาวอโศกpart-1

การใช้น้ำมูตรบำบัดเครือข่ายชาวอโศกpart-2

การใช้น้ำมูลรบำบัดเครือข่ายชาวอโศกpart-3

 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920000
This Month : 20387
Total Users : 1529513
Views Today : 5182
Server Time : 2024-09-20