เรียบเรียงโดย  สิริพิมล  อัญชลิสังกาศ
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ (ด้านบริการวิชาการ)
สำนักการแพทย์ทางเลือก  กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

บทนำ

          โยคะเป็นวิถีแห่งการฝึกฝนตนเองที่มีมาแต่โบราณในประเทศอินเดีย และในยุคนั้นยังไม่มีใครรวบรวมให้เป็นระบบที่คนส่วนใหญ่ในยุคนั้นนำไปปฏิบัติได้ เพียงแต่ปฏิบัติไปตามการสอนหรือ การถ่ายทอดโดยผ่านปากต่อปาก และส่วนใหญ่จะเป็นคำแนะนำการฝึกฝน  จึงมีแนวโน้มที่จะคลาดเคลื่อน  นอกเสียจากผู้ที่รู้จักใกล้ชิดคุรุ (GuRu) เท่านั้นที่จะได้รับการสอน ได้รับความรู้เป็นการส่วนตัว และไม่มีการเขียนตำราและบันทึกวิธีการปฏิบัติวิชาโยคะแต่ละสาขาให้ชัดเจน แต่ก็มีการสอนกันหลายสำนัก และครูสอนก็มีมากมาย แต่มีท่านที่ประสบความสำเร็จในการรวบรวมให้เป็นระบบ ซึ่งเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ ของท่านมหาริชชี่ ปตัญชลี (Rishi Patanyali) เรียกว่าโยคะสูตร ( The  Yogasutra) ซึ่งเป็นการรวบรวมวางรากฐานทุกความสำคัญของพระสูตรโยคะไว้เป็นระบบ  แบบแผนที่รัดกุมที่สุด  จากนั้นก็มีตำราโยคะมากมายผลิตตามมา  ส่วนใหญ่จะเป็นการแปลมาจากต้นฉบับเดิม และได้นำประสบการณ์ที่ตนเองปฏิบัติโยคะมาเขียน ทั้งหมดนี้เกิดก่อนคริสต์ศาสนา ( Before The  Birth of  Christ) สำหรับในประเทศไทยตามตำราฤาษีดัดตนวัดโพธิ์  เข้าใจว่าวิชาโยคะเป็นที่รู้จักตั้งแต่รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างฤาษีดัดตนทำด้วยดิน  จนกระทั่งต่อมาปีพ.ศ. 2374 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่3  ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนเป็นงานใหญ่ และทรงพระกรุณาโปรดให้ปั้นฤาษีดัดตนเนื้อชิน  80 ท่าน  ตั้งไว้ที่เขาฤาษีดัดตนด้านใต้ของวิหารทิศพระปัญจวัคคีย์ คนไทยเริ่มรู้จักฤาษีดัดตนมาบริหารร่างกายเพื่อการบำบัดอาการต่าง ๆเช่น แก้อาการปวดเมื่อย ส่วนโยคะเริ่มมีการเผยแพร่ในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2468-2469 เป็นตำราชื่อ วิทยาศาสตร์การหายใจ ซึ่งแปลโดยพระยานรรัตน์ราชมานิต และในพ.ศ. 2499 อาจารย์ชด  หัสบำเรอ ได้เปิดสอนโยคะและเผยแพร่ขึ้นในประเทศไทย  ซึ่งเรียนและฝึกปฏิบัติมาจากท่านมหาริชชี่ ศิวะนันทะ เมืองฤาษีเกษ ประเทศอินเดีย และในปัจจุบันโยคะได้เผยแพร่ไปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการเปิดสอนโยคะกันหลายสาขาและในแต่ละสำนักอาจารย์ที่สอน ก็ศึกษามาจากอาจารย์จากสำนักต่างๆ ในประเทศไทย ประเทศอินเดียซึ่งเป็นต้นตำรับของโยคะและจากต่างประเทศอื่น ๆ การสอนโยคะมีทั้งโยคะเพื่อการบำบัด แต่ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย และการสอนที่มีแพร่หลายอยู่นั้น มุ่งเน้นการสอนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ2,3,11,13,14,15

ประวัติของโยคะ  
โยคะ คือ ภูมิปัญญาอันนิรันดร์ของอินเดีย มีหลักฐานเกี่ยวกับโยคะตั้งแต่สมัยอารย-ธรรมลุ่มน้ำสินธุ  เมื่อราว3,000 ปีก่อนคริสต์กาล นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่าโยคะมีมากกว่า 5,000 ปีแล้ว โยคะเป็นศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของวัฒนธรรมอินเดีย คือ กำเนิดจากประเทศอินเดีย โดยมีความผูกพันอยู่กับปรัชญาและศาสนาฮินดู1,7,10,13,14,19,20

ความหมายของโยคะ
โยคะมาจากรากศัพท์มาจากคำสันสกฤตว่า ยุช แปลว่า เทียมแอก ผูกมัด ประกอบหรือรวมกัน  องค์รวม หรือ Integration สิ่งสำคัญ โยคะคือการรวมกายกับใจของผู้ฝึกเข้าไว้ด้วยกัน การฝึกโยคะเป็นการสอนให้ร่างกายและจิตใจทำงานอย่างเป็นระเบียบเป็นกระบวนการที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอย่างเป็นองค์รวมให้มากที่สุด รวมไปถึงการทำความรู้จักตัวตนของตนเองและการลดทอนหรือขจัดสภาวะต่างๆ ที่บั่นทอนความเป็นองค์รวม การอยู่อย่างองค์รวมนั้น โยคะให้ความสำคัญกับเทคนิคต่างๆที่ช่วยให้มนุษย์รู้จักมูลเหตุทุกชนิดที่ขาดสมดุล อันก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและจัดปรับให้คืนสู่ความเป็นปกติ  โยคะจึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางด้านจิตและกายมนุษย์ และทางด้านการบำบัดไปพร้อมๆกันการฝึกโยคะจึงเป็นการเหยียดแล้วคลาย สลับกันไปจนจบ โยคะ คือการฝึกวินัยต่อร่างกายและจิตใจมุ่งไปที่การประสานกลมกลืนกับของระบบต่างๆของชีวิตโดยอาศัยเทคนิคหลายๆอย่างประกอบกันทั้งอาสนะ(การฝึกท่าทางกาย)การหายใจและสมาธิ 6,7,10,13,14,17,19,20

Donwload เอกสารเรื่อง โยคะ : เรียบเรียงโดย สิริพิมล  อัญชลิสังกาศ

โยคะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919943
This Month : 20330
Total Users : 1529456
Views Today : 4930
Server Time : 2024-09-20