ชื่องานวิจัย : การสังคายนาตำรายาพื้นบ้านอีสานที่บันทึกลงบนใบลาน
ผู้แต่ง : อุษา   กลิ่นหอม
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 9
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2011
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบในการถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับตำรายาพื้นบ้านอีสานในใบลานที่เป็นอักษรธรรมและอักษรไทยน้อย ให้มาเป็นภาษาไทยในปัจจุบัน การดำเนินงานในครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยใช้เอกสารตำรายาของโครงการอนุรักษ์ใบลาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 3 เล่ม (เล่ม1, 2 และ 3) ซึ่งต้นฉบับจำนวน 27 ฉบับได้มาจากวัดต่างๆ ในจังหวัดมหาสารคามจำนวน 9 วัด ประกอบด้วยใบลาน 488 ลาน 952 หน้า

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1.  สาระที่มีการบันทึกลงบนใบลานประกอบด้วย วันและเวลาที่เหมาะสมในการเก็บยา ชื่อโรค อาการ วิธีการปรุงยาและองค์ความรู้อื่นๆ เช่น การปราบช้างตีเหล็ก

2.  ตำรายาทั้ง 27 ฉบับ ประกอบด้วยตำรายาทั้งสิ้น 3,475 ตำรับ วิธีการปรุงยา 26 แบบ และวิธีการใช้ยา 18 วิธี

3.  แหล่งที่มาขององค์ความรู้ มีการบันทึกที่มาเพียง 6 แหล่ง ซึ่งไม่ปรากฏรายละเอียดว่ามาจากภูมิภาคใดหรือส่วนใดของประเทศแต่เมื่อพิจารณาจากการเรียกชื่อโรคและพืชสมุนไพรพบว่าองค์ความรู้ที่ใช้ในการบันทึกมาจากภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

4.  ผลจากการสังเคราะห์พบว่า การจดบันทึกในตำรายาใบลานไม่ได้เป็นการลอกต่อทั้งฉบับ แต่เป็นจดบันทึกเมื่อได้ตำรับยาดีจากหมอยาคนอื่นๆ การจดบันทึกควบคู่ไปกับการจดจำ จึงจะสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพได้

5.  รูปแบบและขั้นตอนในการสังคายนา/ถอดองค์ความรู้เกี่ยวกับตำรับยาพื้นบ้านอีสานควรประกอบด้วย หมอยาที่สามารถอ่านอักษรธรรมและอักษรไทยน้อยได้ นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในท้องถิ่นและนักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์/ภาษาโบราณ เมื่อกลุ่มบุคคลทั้ง 3 ส่วนนี้ถอดองค์ความรู้จากตำราออกมาเป็นภาษาไทยปัจจุบันแล้วต้องจัดประชุมหมอยาพื้นบ้านที่มีความเชี่ยวชาญจำเพาะโรคนั้น เพื่อทบทวนและสังคายนาความถูกต้องและความเหมาะสมขององค์ความรู้ ก่อนที่จะจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

คำสำคัญ:  ตำรายาพื้นบ้านอีสานสังคายนา

The objectives of this study were to analyze information about traditional medicine of the northeast which had been recorded on palm leaves and to translate it into modern Thai. The palm leaves in this study were kept in nine temples in Mahasarakham Province. There were 488 palm leaves (952 pages). The palm leaves were translated from dhama script and tai noi script into modern Thai word by word.

The results showed that:

1. The information on the palm leaves included information on: the suitable days and times for collecting herbs, the names of diseases or symptoms, and formulas and methodology for mixing the ingredients. In addition to traditional medicine, the palm leaves included techniques for controlling elephants and smelting iron.

2. A total of 3,475 formulas were recorded, with 26 methods for mixing and 18 methods for applying medicine.

3. The formulas on the palm leaves indicated that they originally came from only six sites. Most of them were from the North of Thailand.

4. The system of recording was analyzed. It was found that the recording was done individually for each formula. When a folk healer got a good formula, he/she would record it. The recording was not the complete formula; each folk healer kept some part in his or her memory.

5. A suitable system for translating information on traditional medicine from palm leaves into the Thai language should comprise three experts: A folk healer who can read dhama script and tai noi script, an ethnobotanist and an ancient language specialist. After the experts revise the contents of the palm leaves, a folk healer, who is a specialist in each symptom or disease, re-checks the translation. Using this method it has been possible to develop or update the formulas so that they fit the plants and animals that are found in the present day.

Key words:  Traditional medicine, Northeastern Thailand, revising

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : อุษา กลิ่นหอม และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920760
This Month : 21147
Total Users : 1530273
Views Today : 77
Server Time : 2024-09-21