ชื่องานวิจัย : ผลการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรในผู้สูงอายุโรคเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดเข่าโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ
ผู้แต่ง : นางดุษฎี มงคล, นายขวัญชัย ศรีทารัตน์,   นางสาวสุกฤตา ศรีณะพรม, นางณัฐณิชา จงเจริญ
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. คำม่วง จ. กาฬสินธุ์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ 

อาการปวดเข่าทำให้ผู้สูงอายุมีขีดจำกัดในการประกอบกิจวัตรประจำวันเป็นอย่างมากจึงทำให้ผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลและมักกลัวว่าจะเดินไม่ได้ การกดจุดบำบัดพร้อมการประคบสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดเข่าโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจึงเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน จึงศึกษาเปรียบเทียบการลดระดับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าเนื่องจากภาวะเข่าเสื่อม ที่รับการรักษาด้วยการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร กับการกดจุดบำบัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเปรียบเทียบการลดระดับความเจ็บปวดของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บปวดเข่า เนื่องจากภาวะเข่าเสื่อม ที่รักษาด้วยการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรและการกดจุดบำบัด ทำการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi  Experimental  Research) ทำการนวดทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 2 วัน ศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุจำนวน 100 คน ที่มีอาการปวดเข่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 50 คน วัดระดับความเจ็บปวดด้วยแบบสัมภาษณ์แบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมทางคลินิก 5 ข้อ และแบบวัดระดับความเจ็บปวด  (Pain  Scale) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยIndependent  t-test  ทำการศึกษาในพื้นที่ตำบลทุ่งคลอง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2561 จากการศึกษาว่ากลุ่มทดลองทำการกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพรวัดผลก่อนกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร พบว่าระดับความเจ็บปวดเริ่มต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.25มีค่า SD.±1.74และเมื่อครั้งที่ 5 พบว่าค่าระดับความเจ็บปวดลดลงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.53มีค่า SD.±1.03ส่วนกลุ่มกลุ่มเปรียบเทียบทำการกดจุดบำบัดเพียงอย่างเดียวเริ่มต้นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.60มีค่า SD.±1.80และเมื่อครั้งที่ 5 พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.34มีค่า SD.±2.39เมื่อเปรียบเทียบ ระดับความปวด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบหลังการทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยระดับความปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความปวด น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 1.11 (P value< 0.001) สรุป การกดจุดบำบัดร่วมกับการประคบสมุนไพร สามารถลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุได้ดีมากขึ้นและเร็วขึ้น กว่าการกดจุดบำบัดเพียงอย่างเดียว

คำสำคัญการกดจุดบำบัด ประคบสมุนไพร ข้อเข่าเสื่อม

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ดุษฎี มงคล และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920298
This Month : 20685
Total Users : 1529811
Views Today : 7313
Server Time : 2024-09-20