ชื่องานวิจัย : การใช้ยาจากสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพปัจจุบัน: กรณีศึกษาเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง : นิลเนตร   วีระสมบัติ
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 9
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2011
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลสูงเนิน
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ยาจากสมุนไพรในเครือข่ายสุขภาพอำเภอสูงเนิน ศึกษาปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการใช้ยาจากสมุนไพรอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้แพทย์ บุคลากรสาธารณสุขทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย มีการใช้ยาจากสมุนไพรในการรักษาผู้ป่วยอย่างประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานเวชกรรมไทยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการมี 3 ระยะ 1) ระยะก่อนปฏิบัติการประเมินสถานการณ์การใช้ยาจากสมุนไพร 2) ระยะปฏิบัติการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาจากสมุนไพร ปรับปรุงคู่มือเกณฑ์การรักษาแผนไทยและอบรมให้กับผู้ให้บริการ 3) ระยะประเมินผลประเมินผลการรักษาและการใช้คู่มือเกณฑ์การรักษาแผนไทย กลุ่มเป้าหมายผู้ให้บริการแผนปัจจุบันและแผนไทยในโรงพยาบาล สถานีอนามัย และประชาชนผู้รับบริการแผนไทย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสูงเนินดำเนินการ กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน 2553 ผลการศึกษา ระยะก่อนปฏิบัติการ พบว่า สถานการณ์การใช้ยาจากสมุนไพรอยู่ในเกณฑ์ดี มูลค่าการใช้ยาจากสมุนไพรของโรงพยาบาลเป็นไปตามเป้าหมาย ในสถานีอนามัยเครือข่าย มีแนวโน้มสูงขึ้นและเข้าใกล้เป้าหมาย ระยะปฏิบัติการ พบว่า นโยบายด้านยาจากสมุนไพรของโรงพยาบาลเอื้อต่อการใช้ยาจากสมุนไพรในเครือข่ายบริการสุขภาพ แต่ไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในกลุ่มแพทย์แผนปัจจุบัน ขาดประชาสัมพันธ์เชิงรุกในสถานบริการและชุมชน ผลการใช้ยาจากสมุนไพร พบว่า ช่วยรักษาและบรรเทาอาการให้ดีขึ้น ปลอดภัย และผลข้างเคียงน้อย ได้ปรับปรุงคู่มือเกณฑ์การรักษาแพทย์แผนไทย และจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ 98 คน (ร้อยละ 34.51) ระยะประเมินผล พบว่า ปัจจัยเชิงระบบ ปัจจัยผู้ให้บริการแผนปัจจุบัน แผนไทย และประชาชนผู้รับบริการส่งผลต่อการใช้ยาจากสมุนไพรและผลการใช้ยาจากสมุนไพร จัดทำคู่มือเกณฑ์ฯ ฉบับสมบูรณ์และประเมินผลในช่วงต่อไป ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ ได้แก่ การประกาศนโยบายการใช้ยาจากสมุนไพรควบคู่กับยาแผนปัจจุบันให้ชัดเจน การใช้ยาสมุนไพรอย่างสมเหตุผลสอดคล้องกับการรักษา และการใช้ยาจากสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชน

คำสำคัญการใช้ยาจากสมุนไพรระบบบริการสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสูงเนิน

The objectives of this research were to study the herbal medicine usage situation in Sung NoenContracting Unit of Primary Care-CUP; to search for the main factors related to herbal medicine usage with effectiveness in Sung Noen Contracting Unit of Primary Care-CUP; to integrate herbal medicine usage with effectiveness, efficiency and security in both modern and Thai traditional medicine in Sung Noen Contracting Unit of Primary Care-CUP. Action research was done and divided into three phases: (1) pre-action phase: to evaluate the herbal medicine usage situation from past to present; (2) action phase: in-depth interviews and focus group discussions were conducted among staff dealing with herbal medicine usage to update criteria for the herbal medicine usage manual and training the staff; (3) evaluation phase: treatment results after herbal medicine usage and evaluation of the manual. Target groups were staffs from modern and Thai traditional medicine in Sung Noen Contracting Unit of Primary Care-CUP, and Thai traditional medicine consumers. This study was conducted from February to June 2010. Pre-action phase: found that trends in overall herbal medicine usage were rather good, that is, the value of herbal medicine usage in hospitals met the goal while that in health centers was higher and met the goal closely. Action phase: found that policies for herbal medicine and health service systems in hospitals and health centers supported herbal medicine usage, but there were no clear policy implications for physicians and public relations campaigns in hospital and communities. Herbal medicine usage results were found to relieve symptoms, be safer and have fewer side effects compared with modern medicine. Draft criteria for improving the manual on herbal medicine usage were prepared and used to train staff, (98 persons, or 34.51%). Evaluation phase: found that systematic factors, factors of current and Thai traditional medicine providers, and consumer factor influenced herbal medicine usage and results; the criteria manual was further elaborated and will be evaluated in the future. Policy recommendations for district health service systems were to clearly publish herbal medicine usage data for replacing or being used in parallel with modern medicine, and information on rational herbal medicine usage for treatment and herbal medicine usage for community self-care.

Key words: Herbal medicine usage, Heath Service System, Sung Noen CUP

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นิลเนตร วีระสมบัติ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920736
This Month : 21123
Total Users : 1530249
Views Today : 38
Server Time : 2024-09-21