ชื่องานวิจัย : การเปรียบเทียบผลการใช้ตำรับยาแก้ไอฝางและยาแก้ไอน้ำดำต่ออาการไอ ในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
ผู้แต่ง : นาย   ธนพนธ์   กีเวียน
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. สมเเด็จพระยุพราชหล่มเก่า
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Qusai–experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ยาแก้ไอฝางกับยาแก้ไอน้ำดำ ต่อการบรรเทาอาการไอ ของผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และเปรียบเทียบผลของการใช้ยาแก้ไอฝางกับยาแก้ไอน้ำดำ ต่อการลดระดับความรุนแรงของอาการไอในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด และมีอาการไอ และ/หรือ อาการเจ็บคอ มีเสมหะ ที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก PCU คลินิกแพทย์แผนไทย จำนวน 60 คน โดยแพทย์ได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (Upper respiratory track infection: URI) ได้รับยาที่เหมาะสมในการบรรเทาอาการของผู้ป่วย และจะถูกสุ่มให้ได้รับตำรับยาแก้ไอฝางให้รับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ (15 ml) วันละ 3 เวลา หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น จำนวน 30 คน หรือยาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) ให้รับประทาน 1 ช้อนชา (5 ml) วันละ 3 เวลา หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น จำนวน 30 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คนและทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) เท่ากับ 0.92 เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบการบรรเทาอาการไอก่อนกับหลังการใช้ยาแก้ไอ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ Paired samples t-test วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการบรรเทาอาการไอก่อนกับหลังการใช้ยาแก้ไอ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  โดยใช้สถิติทดสอบ Independent t-test วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการลดระดับความรุนแรงของอาการไอทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ Paired samples t-test  วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลการลดความรุนแรงของอาการไอ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ Independent t-test

ผลการศึกษาพบว่า ผลการบรรเทาอาการไอจากการใช้ยาแก้ไอฝางและยาแก้ไอน้ำดำต่ออาการไอในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในด้านความถี่ของการไอ ระดับความถี่ของอาการไอ และความถี่ในการระคายหรือคันคอ ด้านความรุนแรงของอาการไอ ระดับอาการเหนื่อยหลังการไอและอาการเสียงแหบหลังการไอ ด้านการรบกวน ระดับอาการไอรบกวนชีวิตประจำวัน และอาการไอรบกวนการนอน ในการรักษาสามารถบรรเทาอาการไอโดยลดการบรรเทาของอาการไอได้อย่างมีประสิทธิผล และผลการใช้ยาแก้ไอฝางและยาแก้ไอน้ำดำต่ออาการลดระดับความรุนแรงของอาการไอในผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่งผลให้การศึกษานี้เป็นเรื่องที่ดีต่อการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบันให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เกิดการพึ่งตนเองภายในประเทศและลดการนำเข้ายาและสารเคมีจากต่างประเทศ

คำสำคัญ:ตำรับยาแก้ไอฝาง ยาแก้ไอน้ำดำ การบรรเทาอาการไอ

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ธนพนธ์ กีเวียน

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920136
This Month : 20523
Total Users : 1529649
Views Today : 6238
Server Time : 2024-09-20