ชื่องานวิจัย : การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียร์รอยด์และการใช้การนวดเชลยศักดิ์ร่วมกับการประคบร้อนในโรงพยาบาลสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา
ผู้แต่ง : ชัยสิทธิ์   ศิวากรณ์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทนำปัจจุบันการแพทย์ทางเลือกเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการบำบัดรักษาความเจ็บป่วยการนวดแผนไทยเป็นหนึ่งในวิธีการที่ได้รับความสนใจ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาที่อ้างอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based medicine) นั้นยังมีจำนวนน้อยอยู่ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจต่อการเลือกใช้บำบัดรักษา งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความแตกต่างของประสิทธิผลในการลดอาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างการใช้ยาต้านการอักเสบ ที่ไม่ใช่สเตียรอยด์และใช้วิธีการนวดแผนไทยร่วมกับการประคบร้อน

วัสดุและวิธีการศึกษา ผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 106 ประกอบด้วยกลุ่มที่รักษาด้วยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียร์รอยด์จำนวน50 คน และกลุ่มที่รักษาด้วยการนวดแผนไทยแบบเชลยศักดิ์ร่วมกับการประคบร้อนจำนวน 56 คน เป็นการศึกษาแบบProspective cohort study ก่อนการรักษาจะมีการเก็บข้อมูลทั่วไป ประวัติของอาการปวด ทัศนคติของผู้ป่วยในแง่การลดปวดของการรักษา วัดระดับของความปวดเมื่อยโดยใช้ Numeric rating scale (NRSก่อนและหลังการรักษาที่ 24, 48, 72 ชั่วโมง

ผลการวิจัย ระดับความปวดเมื่อยภายในกลุ่มการนวดเชลยศักดิ์ ร่วมกับการประคบร้อนและการรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.001) ระหว่างก่อนและหลังการรักษาที่ 24, 48, 72 ชั่วโมง โดยทั้ง 2 วิธีสามารถลดระดับความปวดเมื่อยได้ร้อยละ 75 เท่ากัน ระดับความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อระหว่าง 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี > 0.05) ที่ก่อนการรักษา และหลังการรักษาที่ 24, 48, 72 ชั่วโมง ทัศนคติด้านการลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการนวดเชลยศักดิ์ร่วมกับการประคบร้อนมีประสิทธิผลมากกว่ายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ร้อยละ 64.2

บทสรุปและวิจารณ์ จากผลงานวิจัยพบว่าการรักษาด้วยวิธีการนวดเชลยศักดิ์ร่วมกับการประคบร้อนหรือรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์สามารถลดปวดเมื่อยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี < 0.001) และความสามารถในการลดปวดของการนวดเชลยศักดิ์ร่วมกับการประคบร้อนไม่มีความแตกต่างกับการใช้ยาแผนปัจจุบัน เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการนำการนวดแผนไทยเป็นทางเลือกที่มีมาตรฐานในการรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่อไป

คำสำคัญ: นวดแผนไทยยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ประสิทธิผลในการลดปวดสนามชัยเขต

Introduction:Although studies that proved the efficacy of traditional Thai massage with hot compress therapy were very few in number, they played an important role in relieving various types of pain. This study might increase the confidence of health-care providers to use this method as a standard therapy by providing them with evidence-based knowledge.

Objectives:To compare the effectiveness and attitude in pain reduction for muscle strain between NSAIDsand traditional Thai massage with hot compress therapy.

Study design: Prospective cohort study

Materials and methods:One hundred and six patients with muscle strain were enrolled in this study. Fifty-six persons chose traditional Thai massage with hot compress therapy and 50 chose NSAIDs. Each answered a questionnaire before the treatment and was followed up at 24, 48 and 72 hours after treatment by telephone. The questionnaires elicited demographic data, health status, numeric rating scale (NRS) for pain and attitude toward these two methods.

Results:Post-treatment pain score decreased significantly as compared with pre-treatment score within the group treated with Thai massage with hot compress and NSAIDs users (p-value< 0.001), and the pain scores at 24, 48, 72 hours were not significantly different between the two groups. These two methods reduced pain equally for 75 per cent in three days post-treatment. The subjects mostly thought that Thai massage was better than NSAIDs in pain reduction for muscle strain.

Conclusions:This study proved that the efficacy of traditional Thai massage with hot compression therapy for muscle strain, pain reduction was not significantly different from that of NSAIDs.

 

Key words: Thai massage, NSAIDs, efficacy in pain reduction, Sanamchaikhet

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ชัยสิทธิ์ ศิวากรณ์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920923
This Month : 21310
Total Users : 1530436
Views Today : 535
Server Time : 2024-09-21