ชื่องานวิจัย : การปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง : อดิศักดิ์   สุมาลี
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาแรงจูงใจการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่นประชากรที่ใช้ทำการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยในสถานีอนามัย จำนวน 248 คนทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 124 คน และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 12 คนจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 63.7 อายุเฉลี่ย 38.1 ปีสถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 77.4, ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าร้อยละ 73.4, รายได้ 10,001 – 20,000 บาทร้อยละ 49.2, ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเฉลี่ย 3.12 ปีแรงจูงใจในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.15 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.61) โดยปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.26 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.53) และ 3.08 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) ตามลำดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทย อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.83 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.70). แรงจูงใจ ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.762, ค่าพี < 0.001, r = 0.710, ค่าพี < 0.001, r = 0.740, ค่าพี < 0.001). ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในการทำงานปัจจัยค้ำจุนด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงานปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติปัจจัยทั้ง่ 4 ด้านสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดขอนแก่น ได้ร้อยละ 65.1. ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ คือ ปัจจัยค้ำจุนด้านสภาพการปฏิบัติงาน และปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน.

 

คำสำคัญ: แรงจูงใจการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานแพทย์แผนไทยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัย

 

The study involved cross-sectional descriptive research, the purpose of which was to study the motivational factors affecting the performance of service through the Traditional Thai Medicine Standard among public health officers in the Health Center of Khon Kaen Province. The study population comprised 248 public health officers from the Health Center of Khon Kaen Province; 124 samples were selected by systematic random sampling and 12 interviews. The findings revealed that most of the samples were female (63.7%) with an average age of 38.1 years. Most of them were married (77.4%), and has a bachelor’s degree (73.4%). Their income ranged from 10,001 to 20,000 baht (49.2%) and their average experience was 3.12 years. Motivation was at medium level (= 3.15, SD = 0.61); motivation factor and hygiene factor were all at the medium level (= 3.26, SD = 0.53 and = 3.08, SD = 0.56) and their performance based on the Traditional Thai Medicine Standard for Public Health Officers was at the medium level (=2.83, SD = 0.70). Personnel characteristics, such as office rank and motivation, were significantly related to the Traditional Thai medicine standard at the 0.05 level (r = 0.762, p-value < 0.001, r = 0.710, p-value < 0.001, r = 0.740, p-value < 0.001). There were significant variables that predicted the performance of public health officers in the health center, such as achievement motivation factor, hygiene interpersonal relation factor, hygiene work condition factor and hygiene job security factor, with motivation at the 0.05 level. These four factors could predict performance with regard to the Traditional Thai Medicine Standard at 65.1 percent. The most problematic areas were hygienic work conditions and hygiene job security.

 

Key words: motivation, performance of service, the Traditional Thai Medicine Standard, public health officers, health center

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : อดิศักดิ์ สุมาลี และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921695
This Month : 22082
Total Users : 1531208
Views Today : 4560
Server Time : 2024-09-21