ชื่องานวิจัย :
THE EFFECT OF SYMPTOM MANAGEMENT WITH AROMATHERAPY MASSAGE PROGRAM ON FATIGUE IN BREAST CANCER ATIENTS AFTER MASTECTOMY UNDERGOING CHEMOTHERAPY
ผู้แต่ง :
นางสาว   สายใหม   ตุ้มวิจิตร
ชื่อวารสาร : –
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2006
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) :
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยคริสเตียน
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

หลักการและเหตุผล

ความเหนื่อยล้า
(Fatigue) เป็นอาการหลักที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็ง (Aistars,
1987; Schwartz, 2000; Gregory, 2001; Jong et al., 2002: 283) ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานได้มากกว่า
อาการอื่นๆ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดพบว่าเกิดความเหนื่อยล้าได้สูงถึงร้อย
ละ 69 – 100 (Richardson & Ream, 1997: Ream et al., 2002: 301) และร้อยละ 60 เป็นความเหนื่อยล้า
ในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง (Bower et al., 2000: 743) ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน
ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา/อารมณ์ และพฤติกรรม (Piper et al., 1987:19) และจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพ
ชีวิตของผู้ป่วยในที่สุด (Aaronson et al., 1999: 45)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการ
จัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยต่อความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการ
ผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัดที่ได้รับเคมีบำบัด เพศหญิง
ที่เข้ารับการรักษาที่สถาบันมะเร็งเเห่งชาติจำนวน 40 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุม
จนครบ 20 รายแล้วจึงเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองอีก 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันใน
เรื่องของอายุที่แตกต่างกันไม่เกิน 5 ปีและได้รับเคมีบำบัดสูตรเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล
ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยและ
การพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการจัดการกับอาการร่วมกับการนวดด้วย
น้ำมันหอมระเหยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองการจัดการกับอาการของ Dodd et al. (2001) และ
แนวคิดเกี่ยวกับการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพยาบาลแบบผสมผสาน
โปรแกรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1)การประเมินความต้องการและประสบการณ์การรับรู้ของผู้ป่วย
2) การให้ความรู้ 3) การนวดด้วยน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ 4) การประเมินผล โดยมีแผนการ
สอนและคู่มือการดูแลตนเองเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นสื่อที่ใช้ใน
โปรแกรม โปรแกรมและสื่อผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5
ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความเหนื่อยล้า วิเคราะห์หาความเที่ยง
ของเครื่องมือโดยหาค่าสัมประสิทธิอัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติบรรยาย และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่าคะแนนความเหนื่อยล้าภายหลังเข้าร่วมการทดลองของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( Xกลุ่มทดลอง = 45.95 ; X กลุ่มควบคุม = 125.10 ; t-test = 8.88;
p< .05) เนื่องจากโปรแกรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่เน้นการจัดการกับความเหนื่อยล้าจาก
สาเหตุและอาการที่เกิดขึ้นพร้อมกันโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง
ผู้ป่วยและพยาบาล พยาบาลมีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยจัดการกับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นด้วย
ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยจัดการกับความเหนื่อยล้าที่รุนแรงและไม่สามารถบรรเทาได้ด้วย
ตนเองด้วยวิธีการนวดด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นการบำบัดด้วยกลิ่นหอมโดยส่งผ่านการนวด ผู้ป่วย
ได้รับโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยได้ 2 ทางคือจากการสูดดมและการซึมผ่านเข้าทางผิวหนังในขณะ
นวดซึ่งมีผลโดยตรงต่อระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อช่วยในการขจัดกรดแลคติกและของเสียจาก
การทำลายเซลล์มะเร็ง กล้ามเนื้อคลายความตึงตัว จึงมีแรงในการหดรัดตัวมากขึ้น ความเหนื่อยล้า
จึงลดลง ขณะเดียวกันโมเลกุลของน้ำมันหอมระเหยลาเวนเดอร์จะถูกแปรเป็นสัญญาณไฟฟ้าเคมีไปยัง
สมองส่วนลิมบิค(Limbic system)ให้หลั่งสาร Endorphin, Encephalin และ Serotonin ออกมาจึง
สามารถบำบัดอาการต่างๆเช่น ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า ความเครียด หรือความเจ็บปวดและความ
เหนื่อยล้าได้ ( Voltaire, 2000:157, Stevensen, 2001:133)
เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5922640
This Month : 23027
Total Users : 1532153
Views Today : 2433
Server Time : 2024-09-22