สวดมนต์และสมาธิบำบัดเพื่อการรักษาโรค

เรียบเรียงโดย :   ทัศนีเวศ  ยะโส  สำนักการแพทย์ทางเลือก

การสวดมนต์ ตามความหมายในภาษาไทย หมายถึงกิจกรรมที่มีการเปล่งเสียง เป็นทำนองในภาษาบาลี ซึ่งนับถือกันว่า เป็นภาษาของพระพุทธเจ้า คือ พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่เคยมีมาในอดีตทั้งหมด หรือที่จะมีมาในอนาคต ทั่วแสนโกฏิจักรวาล ภาษานี้ยังเป็นที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า “ภาษามคธ” นั่นคือ “ภาษาโบราณของแคว้นมคธ” ซึ่งยังเป็นมูลภาษาหรือภาษาอันเป็นรากของภาษาทั้งหลายทั่วโลกและสากลจักรวาล และยังเป็นภาษาที่ใช้กันในหมู่เทพทั้งหลาย สัตว์เดียรัจฉาน หรือแม้แต่สัตว์นรกขุมต่าง ๆ ต่างก็ใช้ภาษาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้ทารกที่เติบโตขึ้นตามลำพังไม่เคยได้ยินภาษาใด ๆ มาก่อนจะพูดภาษามคธเท่านั้น
ความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสากลของภาษาบาลีนี้ทำให้ การสวดมนต์เป็นกิจกรรมที่มีเอกลักษณ์พิเศษของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นเอกลักษณ์พิเศษของชาวพุทธในประเทศไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชาและศรีลังกา เมื่อเปล่งเสียงสวดพระปริตร หรือ ประกอบพิธีกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา ก็ออกเสียงที่ใกล้เคียงกันมาก และมีความศรัทธาในภาษาบาลี ว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า ด้วยความเชื่อนี้เอง เมื่อสวดสาธยายก็สร้างความศรัทธาอย่างมาก ทำให้ผู้ที่ได้ฟังมีจิตเป็นกุศลอย่างต่อเนื่อง
การสวดมนต์ในภาษาไทยนั้น ในภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า chanting ซึ่งหมายถึงการเปล่งเสียงในพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อบูชาหรือสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในขณะคนไทยเองมักแปลคำ “สวดมนต์” ว่า “prayer” ซึ่งเป็นการอธิษฐานถึงพระผู้เป็นเจ้า อีกนัยหนึ่งคือการสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
แม้ว่าในพระพุทธศาสนาจะไม่มีแนวคิดในเรื่องพระผู้สร้าง แต่การอธิษฐานของชาวคริสต์ มุสลิม หรือ ฮินดูที่นับถือเทพเจ้าสูงสุดว่าเป็นผู้สร้างและอยู่เหนือเทพเจ้าองค์ใด ๆ นั้น มิได้ขัดแย้งกับการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธสามารถตีความได้ว่าเป็นการภาวนาชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “เทวาสติ” อันเป็นอนุสติแบบหนึ่งในสิบอย่างที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นการทำให้จิตเป็นสมาธิได้ และเมื่อทำอธิษฐานภาวนามากเข้าด้วยความเชื่อจิตย่อมเข้าถึงสมาธิระดับต่าง ๆ และส่งผลสำเร็จให้บังเกิดขึ้นได้


สวดมนต์และสมาธิบำบัด

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920296
This Month : 20683
Total Users : 1529809
Views Today : 7295
Server Time : 2024-09-20