Clinical Hypnosis for the Palliative Care of Cancer Patients
บทความโดย  นายแพทย์ชัชดนัย   มุสิกไชย

Clinical Hypnosis (การสะกดจิตทางเวชปฏิบัติ) มีการนิยามว่าเป็นการรักษาทางกายกับจิต ซึ่งจะทำให้คนไข้อยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายอย่างมากที่สุด มีการใช้จินตภาพบำบัด และแพทย์ผู้ทำการรักษาจะให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาในแต่ละปัญหา วิธีการสะกดจิตมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน และมีหลักฐานที่ค่อนข้างชัดเจนทางการแพทย์ เริ่มต้นตั้งแต่ศรรษวรรศที่ 18 ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานมากมาย ว่ามีการสะกดจิตใช้ในการรักษาทางการแพทย์ตั้งแต่สมัยโบราณ  ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยของกษัตริย์เรเมซิสที่ 12 (ประมาณ 3000 ปีที่แล้ว) ณ ประเทศอียิปต์ ได้มีการจารึกเสาหินไว้ คำว่า Hypnosis มาจากภาษากรีก แปลว่า นอนหลับ ซึ่งเป็นคำที่ถูกผูกศัพท์ขึ้นมาโดย  James Braid   ในปี 1841 การรักษาโดยใช้วิธีการสะกดจิต เป็นการรักษาในสายของแพทย์ทางเลือก (CAM) ซึ่งมีการพัฒนาและมีความต้องการใช้มากขึ้นชัดเจน   ในการสำรวจของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2007 พบว่า ประชากรอเมริกา มีจำนวนมากถึง 4 ใน 10 คน เคยใช้บริการแพทย์ทางเลือกเมื่อปีที่ผ่านมา และหนึ่งในนั้นจะเจอข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า แพทย์ทางเลือก (CAM) ค่อนข้างจะใช้ได้มากในผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะเรื้อรัง ยกตัวอย่างเช่น มะเร็ง เป็นต้น โดยเฉพาะในคนไข้ที่รอดจากสภาวะการเป็นมะเร็ง จะทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง

ผู้นำเสนอบทความวิชาการ  :  สมคิด เริงวิจิตรา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

การสะกดจิต

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920601
This Month : 20988
Total Users : 1530114
Views Today : 8324
Server Time : 2024-09-20