ชื่องานวิจัย : ผลของการใช้แผ่นพอกสมุนไพรนามนในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า
ผู้แต่ง : นาง   วันวิสาข์    พรหมเมตตา
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. นามน จ. กาฬสินธุ์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

การศึกษาการพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทย โดยการใช้แผ่นพอกสมุนไพรในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า  โรงพยาบาลนามน  อำเภอนามน  จังหวัดกาฬสินธุ์  จากการดูแลรักษาผู้ป่วยภายในคลินิกแพทย์แผนไทย  พบว่าผู้ป่วยหรือผู้มารับปริการต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการรับบริการ เนื่องจากบริบทการทำงานของคนภายในชุมชน งานการแพทย์แผนไทยจึงพัฒนารูปแบบการบริการในคลินิกโรคข้อเข่าเสื่อมของงานแพทย์แผนไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริการงานด้านการแพทย์แผนไทย ให้มีการรับบริการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ผู้ป่วยมีการดูแลรักษาโดยพึ่งตนเอง 2) บรรเทาและรักษาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าที่มารับบริการในคลินิกแพทย์แผนไทย 3) นำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดประชากร คือ ผู้มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลนามน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการที่คลินิกแพทย์แผนไทยที่มีอาการปวดเข่า คัดเลือกโดยวิธีการสุ่ม จำนวน 40 ราย วิธีการดำเนินการวิจัยในกลุ่มตัวอย่าง ใช้ยาพอกสมุนไพรสูตรโรงพยาบาลนามน โดยประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่  ขิงแก่ ไพล ขัดมอน ใบมะขาม และผิวมะกรูด นำมาทำเป็นแผ่นพอกสมุนไพรพอกให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า โดยวัดระดับความเจ็บปวดเข่าของผู้ป่วยก่อนและหลังรับการรักษา โดยใช้สเกลวัดระดับความเจ็บปวด (NRS) ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 85 มีอาการปวดเข่าลดลง โดยประเมินอาการจากการวัดระดับความเจ็บปวด (NRS)  ผู้ป่วยร้อยละ 92.5 มีความพึงพอใจในระดับดี-ดีมาก จากการการศึกษาการพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทย โดยการใช้แผ่นพอกสมุนไพรในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า พบว่าผู้ป่วยได้รับการรักษาที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถดูแลตนเองได้ และการพอกเข่าสมุนไพรที่ทำจากสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ขิงแก่ ไพล ขัดมอน ใบมะขาม และผิวมะกรูด มีฤทธิ์ในการลดอาการปวดบวม ลดอาการอักเสบของข้อต่างๆ นอกจากนี้ ยังพบว่าสามารถถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้  ทั้งนี้ยังเป็นทางเลือกในการรักษาทางการแพทย์แผนไทยของผู้ป่วยต่อไป

คำสำคัญ: พอกเข่า ปวดเข่า สมุนไพร

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : วันวิสาข์ พรหมเมตตา

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920303
This Month : 20690
Total Users : 1529816
Views Today : 7356
Server Time : 2024-09-20