ชื่องานวิจัย : การพัฒนาหมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับสำหรับผู้สูงอายุ ที่มารับบริการโรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา
ผู้แต่ง : นางสาวซัลมา อะแว,    ดร.กาญจนา นิ่มสุนทร
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. เบตง จ. ยะลา
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาหมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับสำหรับผู้สูงอายุที่มารับบริการโรงพยาบาลเบตง จังหวัดยะลา โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัย 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 คือเตรียมการพัฒนาหมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ ขั้นที่ 2 คือการผลิตหมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ ขั้นที่ 3 คือการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ และขั้นที่ 4 คือประเมินผลการใช้หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาประสิทธิผลของหมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ ซึ่งประกอบด้วย ข้อคำถามในการสนทนากลุ่มจำนวน 10 ข้อ แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 ข้อ แบบประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิทส์เบอร์ก (PSQI) และแบบสอบถามความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถามความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)จากการวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์โดยอาสาสมัคร 6 คน พบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ต้องการให้หมอนหลอดหอมกลิ่นสมุนไพร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีขนาดที่เหมาะสมกับศีรษะของผู้สูงอายุ สามารถถอดทำความสะอาดได้ ไม่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ช่วยให้นอนหลับได้จริง มีความปลอดภัย ผู้วิจัยจึงพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ ประกอบไปด้วย ตัวหมอนทำจากผ้าซาตินชนิดบางมีขนาด 40 × 50 ซม. และปลอกหมอนทำจากผ้าไหมอิตาลี่กับผ้าอินโดลายดอก ซึ่งภายในหมอนบรรจุหลอดพลาสติกตัดเป็นท่อนขนาดเล็ก สอดไส้ยาดมและหยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ จำนวน 10 หยด ส่วนผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบคุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังใช้หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยผลการทดสอบคุณภาพการนอนหลับก่อนการใช้หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.29 และหลังการใช้หมอนหลอดหอมกลิ่นดอกว่านมหาหงส์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.36

คำสำคัญ: หมอนหลอดหอม  ดอกว่านมหาหงส์  คุณภาพการนอนหลับ  ผู้สูงอายุ

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ซัลมา อะแว

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920405
This Month : 20792
Total Users : 1529918
Views Today : 7846
Server Time : 2024-09-20