ชื่องานวิจัย : ประสิทธิผลการนวดกดจุดสะท้อนเท้าต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ผู้แต่ง : นางสาว   สุดารัตน์ เกตุรัตน์,   จิรายุ เพชรประสิทธิ์
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : 2018
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. กันตัง จ. ตรัง
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two-group pretest-posttest design) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนมวนที่สูบ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และระดับการติดนิโคตินของกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างก่อนและหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับกลุ่มได้รับการนวดฝ่าเท้ากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มารับบริการของโรงพยาบาลกันตังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ระหว่าง 1มกราคม – 31พฤษภาคม 2561 จำนวน 30 คน สุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าใน 5 จุดสะท้อนที่กำหนด โดยกดจุดละ 40 ครั้ง เป็นเวลา 20นาที และกลุ่มควบคุมได้รับการนวดฝ่าเท้า 15 ท่า เป็นเวลา 20นาที และนัดกลุ่มตัวอย่างมารับบริการ 10 ครั้ง โดยนัดสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยวัดระดับคาร์บอนมอนออกไซด์ในลมหายใจออก ระดับการติดสารนิโคติน และจำนวนมวนที่สูบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง และเปรียบเทียบผลการสูบบุหรี่ด้วยการทดสอบ ค่าที (t-test) โดยเปรียบเทียบจำนวนมวนที่สูบ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก และระดับนิโคตินระหว่างก่อนและหลังได้รับการนวดกดจุดสะท้อนเท้าด้วย Paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้ากับกลุ่มนวดฝ่าเท้าด้วย Independent t-testกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05

ผลการศึกษา พบว่าจำนวนมวนที่สูบของกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้าหลังการทดลอง (±S.D.=6.47±5.18) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง (±S.D.=9.47±6.64) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ส่วนกลุ่มนวดฝ่าเท้าหลังการทดลอง(±S.D.=9.40±4.39) ไม่แตกต่างกันทางสถิติจากก่อนการทดลอง(±S.D.=9.11±4.64) และระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกของกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้าหลังการทดลอง (±S.D.=7.32± 4.07) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(±S.D.=10.80±4.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<.001 กลุ่มนวดฝ่าเท้า หลังการทดลอง (±S.D.=11.27±5.48) ไม่แตกต่างกันทางสถิติจากก่อนการทดลอง (±S.D.=11.65±4.90) และระดับการติดนิโคตินของกลุ่มนวดกดจุดสะท้อนเท้าหลังการทดลอง (±S.D. = 2.27±1.79) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(±S.D.=4.87±1.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<.001 กลุ่มนวดฝ่าเท้าหลังการทดลอง (±S.D.=4.93±1.10) ไม่แตกต่างกันทางสถิติจากก่อนการทดลอง(±S.D.=4.60±0.91) การเปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า จำนวน   มวนที่สูบหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01ระดับการติดนิโคตินหลังการทดลองของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<.001สรุปได้ว่าการนวดกดจุดสะท้อนเท้าสามารถช่วยลดการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ และทำให้ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออกและระดับการติดนิโคตินลดลง

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สุดารัตน์ เกตุรัตน์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920503
This Month : 20890
Total Users : 1530016
Views Today : 7987
Server Time : 2024-09-20