ชื่องานวิจัย : องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ลดไขมันของใบชะมวง
ผู้แต่ง : ดวงเพ็ญ   ปัทมดิลก
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ลดไขมันในหลอดทดลองของใบชะมวง (Garcinia cowaRoxb. Ex DC. วงศ์ Clusiaceae (Guttiferaeโดยพบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบชะมวงสามารถยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ Caco-2 ได้ร้อยละ 14.6 ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG CoA reductase ได้ร้อยละ 97.06 และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ pancreatic lipase ด้วยค่า IC50 196.60 มคก./มลจึงนำสารสกัดเอทานอลจากใบชะมวงมาแยกเป็นส่วนสกัดย่อยด้วยวิธีการ partition ได้เป็นสารสกัดเฮกเซน สารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดบิวทานอล และสารสกัดน้ำผลการทดสอบฤทธิ์ลดไขมันในหลอดทดลอง พบว่า ที่ความเข้มข้น 100 มคก./มลสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดไดคลอโรมีเทนสามารถยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่เซลล์ Caco-2ได้ร้อยละ 36.74 และ 32.80 ตามลำดับที่ความเข้มข้น 10 มคก./มลสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG CoA reductase ร้อยละ 114.34 และ 80.55 ตามลำดับสารสกัดเฮกเซนและสารสกัดไดคลอโรมีเทนมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ pancreatic lipaseด้วยค่า IC5067.45 และ 352.80 มคก./มลตามลำดับ. เมื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดไดคลอโรมีเทนจากใบชะมวงด้วยวิธีทางโครมาโทกราฟีและพิสูจน์โครงสร้างทางเคมีของสารบริสุทธิ์ที่แยกได้ได้วิธี NMR spectrometry และเปรียบเทียบข้อมูลสเปกตรัมกับสารที่เคยมีรายงานในอดีต พบว่า สารสกัดไดคลอโรมีเทนจากใบชะมวงมีสารกลุ่ม flavonoid C-glycoside 2 ชนิด คือ vitexin และ orientin และยังพบ ß-sitosterol เป็นองค์ประกอบ

คำสำคัญชะมวงฤทธิ์ลดไขมันองค์ประกอบทางเคมีclolesterol uptake, pancreatic lipase, HMG CoA reductasevitexinorientin

The aim of this study was to investigate the chemical constituents and in vitro anti-hyperlipidemicactivityof Garcinia cowa Roxb. ex DC. leaves (Family: Guttiferae). The ethanolic extract of G. cowa leaves inhibited cholesterol absoption in Caco-2 and HMG CoA reductase with a percentage inhibition of 14.6 and 97.06 percent, respectively. It showed pancreatic lipase inhibitory effect at the IC50 value of 196.60 μg/ml. Further partition of the ethanolic extract of G. cowa leaves yielded hexane extract, dichloromethane extract, butanol extract and water extract. The study revealed an interesting hypolipidemic effect of G. cowa leaf extracts. At the concentration of 100 μg/ml, the hexane extract and dichloromethane extract inhibited cholesterol absoption in Caco-2 at 36.74 and 32.80 percent inhibition, respectively. At the concentration of 10 μg/ml, the hexane extract and the dichloromethane extract also inhibited HMG CoA reductase at 114.34 and 80.55 percent, respectively. The hexane and dichloromethaneextract of G. cowa leaves exhibited pancreatic lipase inhibitory activity at the IC50 values of 67.45 and 342.80 percent, respectively. Phytochemical study of the dichloromethane extract of G. cowa leaves, using chromatographic techniques and structural determination of isolated compounds by means of comparison of the NMR spectral data reported previously, showed that the dichloromethane extract of G. cowa leaves consisted of two flavonoid C-glycosides, including vitexin and orientin, and β-sitosterol.

Key words: Garcinia cowaanti-hyperlipidemic, chemical constituent, cholesterol uptake, pancreatic lipase, HMG CoA reductasevitexinorientin

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921181
This Month : 21568
Total Users : 1530694
Views Today : 1472
Server Time : 2024-09-21