ชื่องานวิจัย : พิษเรื้อรังของสารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986
ผู้แต่ง : นาย   ทรงพล   ชีวะพัฒน์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

สารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 เป็นส่วนผสมจากสารสกัดพืช 8 ชนิด ได้แก่ พุทธรักษาปีกไก่ดำพญายอมะไฟเดือนห้าเหงือกปลาหมอแทงทวยข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมเพื่อใช้ทดลองรักษามะเร็งเต้านมคณะผู้รายงานได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 โดยกรอกเข้าปากหนูแรตพันธุ์วิสตาร์ 168 ตัว ที่แบ่งเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 24 ตัว (เพศผู้ 12 ตัว, เพศเมีย 12 ตัว). กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่นกลุ่มที่ 2 ถึง 4 ได้รับสารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 วันละ 0.24, 1.2 และ 3.6 ก./กกเป็นเวลา 6 เดือนกลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มฟื้นตัวได้รับสารสกัดวันละ 3.6 ก./กก. 6 เดือนจากนั้นหยุดให้สารสกัด 2 สัปดาห์ก่อนผ่าซากกลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น และกลุ่มที่ 7 ได้รับสารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 ทางปากในขนาดวันละ 3.6 ก./กก. 9 เดือนจากการศึกษาพบว่า สารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวและสุขภาพของหนูแรตหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดขนาดวันละ 1.2 และ 3.6 ก./กก. 6 เดือน และขนาดวันละ 3.6 ก./กก. 9 เดือน มีค่าฮีมาโตคริตฮีโมโกลบิน และจำนวนเกล็ดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าพี < 0.05) และหนูเพศเมียที่ได้รับสารสกัดสมุนไพรเป็นเวลา 9 เดือน มีจำนวนเกล็ดเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าพี < 0.05) แต่ค่าที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังอยู่ในเกณฑ์ปรกติหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดเป็นเวลา 9 เดือนมีค่าเอนโซม์ แอสพาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส (เอเอสทีสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าพี < 0.05). การตรวจทางจุลพยาธิวิทยาของอวัยวะหนูที่ได้รับสารสกัดสมุนไพร ทั้งระยะเวลา 6 เดือนและ 9 เดือน ไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสารสกัดแต่อย่างใดการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่าสารสกัดสมุนไพร จีพีโอ 1986 ไม่ทำให้เกิดพิษเรื้อรังต่อหนูแรต.

คำสำคัญ:  สารสกัดสมุนไพรมะเร็งเต้านม. จีพีโอ 1986, พิษเรื้อรัง

GPO 1986 is a mixture of eight herbal extracts from Canna indica L., Polyagala chinensis L., Clinacanthusnutans LindauAmmania baccifera L., Acanthus ebracteatus VahlMallotus Philippensis MuellArg., Smilax corbularia Kunthr, and Pygmaeopremma herbacea (Roxb.) Mold. This recipe is used by the Government Pharmaceutical Organization in a clinical trial on mammary cancer. Chronic toxicity of GPO 1986 was conducted in 168 Wistar rats randomly divided into 7 groups of 24 rats each (12 males and 12 females ). Group 1 was a control group receiving distilled water and groups 2 to 4 were orally administered with GPO 1986 at doses of 0.24, 1.2, 3.6 g/kg/day, respectively, for 6 months. Group 5 was the recovery group receiving GPO 1986 at the dose of 3.6 g/kg/day for 6 months; after that, the animals were further raised without GPO 1986 for 2 weeks before autopsy. Group 6 was the control group receiving distilled water. Group 7 was orally administered GPO 1986 at the dose of 3.6 g/kg/day for 9 months. The results showed that GPO 1986 did not affect body weights and animal health. Male rats receiving GPO 1986 at doses of 1.2 and 3.6 g/kg/day for 6 months and male rats receiving GPO 1986 for 9 months showed significant decreases of hematocrit, hemoglobin and red blood cells. Female rats receiving GPO 1986 for nine months had a significant reduction in platelet counts (p<0.05). However, these hematological changes were within the rat reference values. Male rats receiving GPO 1986 for nine months had a significant increase in AST level (p<0.05), whereas the potassium level was significantly decreased (p<0.05). Histopathological results of visceral organs in the six-month and the ninemonthtreatment groups did not show any alterations caused by GPO 1986. In conclusion, GPO 1986 did not produce chronic toxicity in Wistar rats.

 

Key words: herbal extract, toxicity, GPO 1986, mammary cancer

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ทรงพล ชีวะพัฒน์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921244
This Month : 21631
Total Users : 1530757
Views Today : 1741
Server Time : 2024-09-21