ชื่องานวิจัย : ผลของการฝึกอานาปานสติสมาธิต่อการลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับเคมีบำบัด
ผู้แต่ง : สมพร   เทพสุริยานนท์
ชื่อวารสาร : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2005
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : วิทยาลัยบรมราชชนนี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     อาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด ก่อให้เกิดภาวะไม่สุขสบายและทุกข์ทรมาน การฝึกอานาปานสติสมาธิ เป็นการฝึกความตั้งมั่นของจิต โดยยึดที่ลมหายใจ การฝึกอานาปานสติสมาธิ เป็นการช่วยควบคุมและลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกอานาปานสติสมาธิต่อการลดอาการคลื่นไส้และอาเจียนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะระบบสืบพันธุ์ที่ได้รับเคมีบำบัดที่หอผู้ป่วยนรีเวชหญิง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกจำนวนครั้งของการคลื่นไส้อาเจียน แบบประเมินผลการฝึกอานาปานสติ เทปบันทึกเสียง คู่มือการฝึกอานาปานสติ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของจำนวนครั้งของการคลื่นไส้และอาเจียน โดยใช้สถิติMann-Whitney U Test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ฝึกอานาปานสติมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฝึกอานาปานสติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยอื่น

 

Nausea and Vomiting are often symptoms among cancer patient on chemotherapy, influence their uncomfortable. Anapanasatisamati Pratice is meditation that focus on inhale-exhale respiration.

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of anapanasatisamati pratice to decrease nausea and vomiting among gynecologic cancer patient that Received Chemotherapy, twenty two patient with gynecologic cancer patient that Received Chemotherapy were selected by purposive sampling from the gynecologic department in Sappasithiprasomg hospital, Ubonratchatani. The reseachtools were a Demographic Data From, the nausea and vomiting record Form, Tape Recorder, Anapanasatisamati Pratice Manual. The Mann Whitney-U test was used to test the AnapanasatisamatiPraatice.

The results revealed that the frequency of nausea and vomiting after participating in the Anapanasatisamati Pratice was statistically significant less than that before particpating in the Anapanasatisamati Pratice. (p < .05) These finding suggested that a Anapanasatisamati Pratice should be provided be provided for other group patients or chronic illness.

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สมพร เทพสุริยานนท์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921756
This Month : 22143
Total Users : 1531269
Views Today : 4822
Server Time : 2024-09-21