ชื่องานวิจัย : องค์ความรู้สมุนไพรและยาตำรับที่หมอพื้นบ้านใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ: กรณีศึกษาหมอเสริม ใจทัศน์จังหวัดยโสธร
ผู้แต่ง : กุสุมา   ศรียากูล
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 6
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและยาตำรับที่ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของหมอพื้นบ้านโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกหมอพื้นบ้านเดินป่าสำรวจสมุนไพร พร้อมเก็บตัวอย่างการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากตำรา เอกสาร เกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของสมุนไพรแต่ละชนิดรวมทั้งให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของกรมป่าไม้ช่วยตรวจสอบความถูกต้องจากการศึกษาพบว่าหมอเสริม ใจทัศน์ เริ่มเรียนรู้โดยการถูกบังคับให้เป็นผู้ช่วยคุณตาในการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่อายุ 12 ปีหลังจากคุณตาเสียชีวิต หมอเสริม ใจทัศน์ รับหน้าที่เป็นหมอในชุมชนและได้พัฒนาตนเองจากประสบการณ์ตรงจากผู้ป่วยนอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา หมอเสริม ใจทัศน์ ยังได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มหมอยาพื้นบ้านในชุมชนและนอกชุมชนที่สนใจอย่างไม่หวงความรู้ เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยร่วมกันปัจจุบัน หมอเสริม ใจทัศน์ ได้มีลูกศิษย์ที่เป็นผู้สืบทอดความรู้อย่างจริงจังคือ หมอประภาส มาสขาว ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยในปัจจุบันสำหรับสมุนไพรที่ใช้บ่อยในการรักษาในชุมชนนั้น มีจำนวน 106 ชนิดเป็นสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น สมุนไพรใช้แก้พิษงูแก้ไข้บำบัดโรคทางเดินอาหารโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสมุนไพรที่ได้รวบรวมสอดคล้องกับรสและสรรพคุณยาไทยส่วนตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้รักษาผู้ป่วยก็สอดคล้องกับการปรุงยาตามหลักยารสประธานตามทฤษฎีแพทย์แผนไทยการตรวจรักษาใช้หลักการซักประวัติอาการผู้ป่วยการบริโภคอาหารฤดูกาลอายุและการตรวจร่างกายเพื่อดูสมดุลทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภาพองค์รวมความรู้ ส่วนใหญ่ หมอเสริม ใจทัศน์ รักษาตามอาการขั้นพื้นฐาน และกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็งลำไส้ยาที่ใช้มีลักษณะเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นยาต้ม ยาฝน เป็นต้น.

การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นประโยชน์ในการรวบรวมองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้าน เพื่อนำไปต่อยอดและนำไปพัฒนาให้ครบวงจรทั้งทางด้านสาระสำคัญและการนำมาใช้กับผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ.

คำสำคัญ: หมอพื้นบ้านหมอเสริมใจทัศน์องค์ความรู้แพทย์แผนไทย

A qualitative study on the collection of the body of knowledge of folk healers on single herbal medicine and herbal medicine recipes for health promotion was carried out. The objectives of the study were to compile the names and therapeutic application of herbs used by Mor Serm Jaitat in Yasothorn Province, and to determine the pharmacological activities of medicinal plants and herbal medicine recipes that he uses for health promotion and treatment of patients. The data were collected by conducting an in-depth interview to learn about his knowledge and concepts of disease treatment. The local forest was surveyed in order to collect the herbs for botanical identification and for the preparation of herbarium specimens. A specialist from the Royal Forest Department was consulted for plant identification, and a literature review on the pharmacological and toxicological studies of those medicinal plants was then performed. It was found that Mor Serm Jaitat was forced to learn by helping his grandfather take care of patients since he was 12 years old. After his grandfather died, he took up his grandfather’s responsibility in taking care of the health of the people in the community and he has developed his experience and career as a folk healer from patient contacts. He has also generously transferred and passed on his knowledge to other folk healers in and outside the communities so that they all can help in taking care of patients. One of his students, Mor Prapas Maskao can now apply that knowledge in the treatment of patients. There are 106 herbs that he commonly uses; they can easily be found in the community, such as herbs for treatment of venomous snakebite and fever, and for the treatment of gastrointestinal tract and urinary tract diseases. Literature reviews show that those medicinal plant materials and their therapeutic applications comply with the principle of Thai traditional medicine regarding the taste and therapeutic efficacy of medicinal plant materials. For his herbal medicine recipes, the formulation and the preparation of such recipes also comply with the principle of Thai traditional medicine regarding main tastes of herbal medicine. The examination of patients is based on patient’s history and complaint, as well as information on food consumption, seasons, age and physical examination to determine the balance of the body, mind, and the environment. Overall, Mor Serm Jaitat commonly uses basic symptomatic treatment and also treats some chronic diseases, such as cancer of the intestine. The dosage forms of herbal medicines used are simple, such as decoction and granular medicine. This study showed the benefit of collecting folk healers’ knowledge which could lead to further studies on the active constituents of medicinal plants, preclinicaland clinical studies to develop herbal medicine that can be used more efficiently in patients.

 

Key words: folk medicine, Thai traditional medicine

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : กุสุมา ศรียากูล

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920297
This Month : 20684
Total Users : 1529810
Views Today : 7311
Server Time : 2024-09-20