ชื่องานวิจัย : ภูมิปัญญาพื้นบ้านทางการแพทย์ของหมอตำแยมุสลิม (โต๊ะบิแด) ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
ผู้แต่ง : สุธน   พรบัณฑิตปัทมา
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 3
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          อัตราการตายของมารดาและทารกที่คลอดใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้สูงกว่าเป้าหมายของประเทศส่วนหนึ่งเกิดจากการทำคลอดของโต๊ะบิแด ที่ขาดทักษะและความรู้ในการช่วยทารกและไม่สามารถแยกปัจจัยเสี่ยงของหญิงมีครรภ์ได้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังและภูมิปัญญาของโต๊ะบิแดในการดูแลสุขภาพอนามัยหญิงตั้งครรภ์และทารกคลอดใน5 จังหวัดชายแดนภาคใต้วิธีการศึกษาโดยการกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3 คน ต่อจังหวัด รวม 15 คน สัมภาษณ์เจาะลึกตามเครื่องมือที่สร้างขึ้นและวิเคราะห์เชิงพรรณา.

โต๊ะบิแดในการศึกษานี้เป็นหญิงทั้งหมดอายุ 60-70ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทางการเกษตรมีส่วนน้อยที่หมอตำแยเป็นอาชีพหลักองค์ความรู้อาชีพหมอตำแยสืบทอดจากบรรพบุรุษทางแม่ และเคยผ่านการอบรมผดุงครรภ์จากหน่วยงานภาครัฐในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในระยะตั้งครรภ์โต๊ะบิแดดูแลหญิงมีครรภ์โดยการตรวจครรภ์นวดเพื่อผ่อนคลาย และนวดท้องเพื่อให้เด็กอยู่ในท่าปกติแนะนำให้กินอาหารที่เป็นสมุนไพรบำรุงครรภ์ทำให้คลอดง่ายระยะคลอดโต๊ะบิแดจะเน้นการทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดตรวจการเปิดปากมดลูกทำคลอดโดยการใช้สมุนไพรช่วยป้องกันฝีเย็บขาดตัดสายสะดือทารก และทำพิธีฝังรกระยะหลังคลอด โต๊ะบิแดจะให้หญิงหลังคลอดอยู่ไฟเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้นแนะนำการดูแลตนเองหลังคลอด โดยเฉพาะการใช้สมุนไพรขับน้ำคาวปลา บำรุงครรภ์ เร่งน้ำนมส่วนทารก โต๊ะบิแดจะทำพิธีไม่ให้ผีทำร้ายเด็กใช้สมุนไพรรักษาสะดือเด็กให้แห้ง ช่วยป้องกันผื่นคัน.

สรุปว่าโต๊ะบิแดได้รับการถ่ายทอดภูมิป้ญญาทางแม่ช่วงตั้งครรภ์จะเน้นนวดและกินอาหารบำรุงครรภ์ระยะคลอดจะเป็นการทำคลอดหลังคลอดจะแนะนำการใช้สมุนไพรเร่งน้ำนม และดูทารกไม่ให้เจ็บป่วย.
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านทางการแพทย์โต๊ะบิแดหมอตำแยมุสลิม, 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย

Infant and maternal mortality rates in the five southern-border provinces of Thailand have been higher than the country’s average. Part of the reasons may be due to the lack of knowledge and skill of toh-bidaesor Muslim midwives in taking care of pregnant women and infants, especially at the time of delivery, in diagnosing any risk factors in labor. The present study was aimed at studying the background and folk medical wisdom of toh-bidaes who practice in the five southern-border provinces of Thailand. The selection criteria for experienced toh-bidaes from different regions of the studied provinces were establisted and three tohbidaes from each province were secured for a total of 15 represent the toh-bidaepopulation. Data from indepth interviews were analyzed for descriptive information. Regarding the background of the toh-bidae samples, they were all women aged 60-70 years. Their main occupations were agriculture and only a few practiced midwifery as their main job. Their midwifery knowledge was passed on from their mothers’ side. Most attended some midwifery training course organized by the public sector. Regarding antenatal care, the toh-bidaes take care of a pregnant woman by examining the baby externally while it is in the womb, giving massage for relaxation, and on the abdomen to correct the position of the baby, if necessary, giving advice on proper diet, especially herbal food, and on nourishing the mother the so that she will have easy delivery. At delivery, the toh-bidae cleans the vaginal area, examines the opening of the uterus, helps deliver the baby, uses some herbs to prevent tearing of the perineum, cuts the cord, and performs ritual while burying the cord. For postnatal care, the toh-bidaetakes care of the “Yu-Fai” period (lying by the fire) of the mother to help the uterus resume its original position sooner, and gives self-care instructions for the mother, especially on the use of herbs to help excrete lochia, promote lactation, and nourish the body. For the infant, the toh-bidae performs some ritual to protect them from evil spirits, uses some herbs to help dry the cord and prevent skin rash. In summary, most toh-bidaes inherited their midwifery knowledge from their mothers and grandmothers. Their work involves mainly massage and nutritional support for antenatal care, help in the delivery of the baby, and giving some herbs to stimulate milk production and in taking care of the health of the newborn.

 

Key words: folk medical wisdom, toh-bidae, Muslim widwife, southern-border provinces, Thailand

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : สุธน พรบัณฑิตปัทมา

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920432
This Month : 20819
Total Users : 1529945
Views Today : 7891
Server Time : 2024-09-20