ชื่องานวิจัย : การประเมินสมบัติทางกายภาพและการปนเปื้อนโลหะหนักของน้ำยาสูตรเบญจกูลจากวิธีการต้มยาหม้อ
ผู้แต่ง : นาถธิดา   วีระปรียากูร
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การประเมินสมบัติทางกายภาพของน้ำยาตำรับเบญจกูล สูตรเสมอภาคโดยวิธีการต้ม เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริโภคในการต้มยา สูตรสลึง และสูตรบาทจากวิธีปรุงยาทั้ง ๒ สูตรที่เติมน้ำยาจนท่วมตัวยาแล้วต้มให้งวดเหลือน้ำยา ๑ ใน ๓ พบว่าเกิดความคลาดเคลื่อนของปริมาตรน้ำที่เติม ขึ้นกับขนาดภาชนะที่เลือกใช้ที่อาจแตกต่างกัน และจากปริมาตรน้ำเพื่อให้ท่วมสมุนไพรของแต่ละบุคคล. การต้มยาสมุนไพรในบีกเกอร์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพบว่าน้ำยามีสีเข้มขึ้นและเป็นกรดเพิ่มขึ้น (ค่าพี < ๐.๐๕) เมื่อแช่สมุนไพรในบีกเกอร์นาน ๖๐ นาทีโดยไม่ต้ม พบว่ามีสีอ่อนกว่าและมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่าแบบต้ม. เมื่อต้มน้ำเปล่าในหม้อดินพบว่าน้ำยาใสไม่มีสี น้ำในหม้อเป็นเบสแก่ทั้งก่อนและหลังต้ม (ค่าความเป็นกรด-เบส~๘-๙). เมื่อต้มยาสมุนไพรทั้ง ๒ สูตรในหม้อดิน สีของน้ำยามีความเข้มมากขึ้น มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (ค่าพี < ๐.๐๕) แต่ความเป็นกรดน้อยกว่าน้ำยาที่ต้มในถ้วยปากนก. นอกจากนี้ หม้อดินยังดูดซับน้ำได้ ๒ เท่าเมื่อเทียบกับหม้อดินที่แช่น้ำไว้ก่อน ๑ คืนแล้วผึ่งให้หมาดก่อนใช้ สมุนไพรเองก็ดูดซับน้ำหลังต้มโดยพบน้ำหนักเพิ่มขึ้น ๒ เท่า ไม่สังเกตพบการเกิดเชื้อราในกากและน้ำยาที่ผ่านการต้ม แต่พบในกากและน้ำยาที่ไม่ผ่านการต้มที่เก็บโดยแช่ในตู้เย็นนาน ๑ สัปดาห์. ปริมาณโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม และสารหนูในพืชสมุนไพรแต่ละชนิดและจากหม้อดินไม่เกินจากมาตรฐานที่กำหนดใน Thai Herbal Pharmacopoeia II. สรุปการต้มยาทำให้ได้ตัวยามากกว่า และเป็นการค่าเชื้อที่อาจปนเปื้อนมาในวัตถุดิบ ภาชนะ หรือระหว่างกระบวนการเตรียมยา.

คำสำคัญ: ยาหม้อ, เบญจกูล, สมบัติทางกายภาพ, การปนเปื้อนโลหะหนัก

This study involved an evaluation of the physical properties of the Benjakul decoction, the Sa-Moure-Pak recipe (equal proportions) based on the Sa lung and Baht formulae. It was aimed at achieving basic information for users. The raw herbal materials were placed in either a clay pot or beaker for comparison. Water was added just to cover the herbs and boiled until the volume of liquid was one third of the original. It was found that the volume used could differ depending on the size of the container selected and the water volume used to cover the herbs. The boiled herbal solution in the beaker gave a more intense color and a higher acidic pH compared with the pre-boiling mixture (p<0.05). When immersing the herbs in water for 60 minutes, the herbal solution showed more intense color and more acidity compared with pre-immersion, but the acidity of the herb-immersed solution was less than that produced by the boiling method. Boiling the mixture in the clay pot produced a clear color and more basic pH. However, the pH of the water before and after boiling in the clay pot was found to be similar and was basic (pH ~ 8-9). When boiling herbs following the Sa lung and Baht protocols in a clay pot, the color of the herbal solution was more intense and more acidic than at pre-boiling (p<0.05). However, the acidity of the boiled herbal solution in the clay pot was less than that in beaker. This demonstrated that the clay pot could absorb twice as much water as the clay pot that was previously soaked in water overnight and allowed to dry in the air before use. The raw herbal materials were also found to absorb water such that their weight increased two-fold after boiling. There was no fungal contamination of the boiled herbs or the solution. However, such contamination was found in herbs and solution that were not boiled after keeping them in a refrigerator for one week. The amounts of heavy metals, i.e., lead, cadmium and arsenic, found in the raw herbal materials and in the clay pot were in trace amounts and less than the limits set in the Thai Herbal Pharmacopoeia II. In conclusion, the decoction produces a higher yield of substances from herbs and helps eliminate fungal contamination that might be present in herbal materials and containers, or occur in the process of preparation.

Key words : decoction, Benjakul, physical properties, heavy metal contamination

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นาถธิดา วีระปรียากูร และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920639
This Month : 21026
Total Users : 1530152
Views Today : 8407
Server Time : 2024-09-20