ชื่องานวิจัย : สถานภาพและทิศทางการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ
ผู้แต่ง : เสาวณีย์   กุลสมบูรณ์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 5
ฉบับที่ : 1
ปีที่วิจัย : 2007
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

 ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพเป็นพื้นความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของกลุ่มชนเป็นศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่ตกผลึกจากการสังเกต ทดลองใช้ คัดเลือก กลั่นกรองและสั่งสม สืบทอดจากคนรุ่นก่อนภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพเป็นสิ่งสะท้อน ระบบคิด ความเชื่อและแนวทางการดูแลชีวิตและสุขภาพแบบตะวันออก เป็นความรู้และเทคโนโลยีที่เรียบง่าย คนไทยสามารถเข้าถึงใช้ประโยชน์และทำให้พึ่งตนเองได้งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ (๑) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ภาพรวมสถานภาพการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๔๗ และ (๒) เพื่อเสนอแนะทิศทางของการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพในอนาคตรูปแบบและขอบเขตงานวิจัย คือ การวิจัยเชิงเอกสารที่ศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๔๗ โดยกำหนดขอบเขตเป็น ๓ หมวด คือ หมวด ๑ งานวิจัยภูมิปัญญาด้านสุขภาพแบบพื้นบ้าน, หมวด ๒ งานวิจัยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านแบบประสบการณ์, และหมวด ๓ งานวิจัยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านแบบศาสนธรรมและพิธีกรรม.

ผลการศึกษาพบว่า (๑) สถานภาพของการวิจัยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพจำนวน ๑๕๕ เรื่อง ซึ่งเป็นงานวิจัยสุขภาพแบบพื้นบ้าน ๓๘ เรื่อง, งานวิจัยการแพทย์พื้นบ้านแบบประสบการณ์ ๗๙ เรื่อง, และงานวิจัยการแพทย์พื้นบ้านแบบศาสนธรรมและพิธีกรรม ๓๘ เรื่อง. ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รองลงมาเป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ งานวิจัยแบบทดลองและงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ. ส่วนใหญ่เป็นงานวิทยานิพนธ์และที่เหลือเป็นงานวิจัยของสถาบันการศึกษา. ศาสตร์ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่องค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์. ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านไป ศาสตร์ที่ใช้ในงานวิจัย คือ มานุษยวิทยาการแพทย์และการแพทย์ชาติพันธุ์; (๒) งานวิจัยภูมปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพมีจำนวนไม่มากนัก, งานวิจัยไม่มีระบบทิศทาง และวาระการวิจัยไม่ชัดเจน, ไม่มีระบบสนับสนุนและยังไม่มีกลวิธานการจัดการความรู้ที่ได้ร้บไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติการที่ต่อเนื่อง.

ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าทิศทางของการวิจัยภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในอนาคตควรวางรูประบบสนับสนุนงานวิจัยให้ชัดเจนและมีกลวิธานการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสาธารณะได้อย่างต่อเนื่อง. การศึกษาวิจัยควรเริ่มต้นจากศาสตร์ด้านมานุษวิทยาการแพทย์และการแพทย์ชาติพันธุ์ จากนั้นจึงอาศัยศาสตร์อื่นมาวิจัยคู่ขนานหรือวิจัยต่อยอดเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพแบบหลากหลายมิติและแบบบูรณาการ พร้อมทั้งวิจัยและพัฒนาเชื่อมโยงไปสู่ภาคนโยบายและการใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติการอย่างสมสมัย

คำสำคัญ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ, การแพทย์พื้นบ้านแบบประสบการณ์, การแพทย์พื้นบ้านแบบศาสนธรรมและพิธีกรรม

 

Indigenous or local wisdom for health (LWH) is a cultural aspect for health care and treatment among multi-ethnic groups in Thai society. LWH is the art and science crystallized from observation, application, selection, filtration, and accumulation from previous to current generations. LWH reflects the thinking system, belief, and means to take care of life and health based on Eastern ways. LWH is a simple and appropriate technology. It enables Thai people to access, utilize and rely on themselves. The objectives of this research are (1) to summarize and analyze the status of research on LWH during the period from 1992 to 2004 and (2) to synthesize the overall situation and propose the direction of future research into LWH. Documentary research during the period from 1992 to 2004 were used. There are three categories including (1) research on LWH related to folk culture, (2) research on LWH related to secular folk, and (3) research on LWH related to religious and healing rites. The study found that there were 155 items in the literature related to LWH classified in relation to: (a) folk culture (38), (b) secular folk (79), and (c) religious and healing rites (38). The majority of the literature comprised qualitative research, followed by survey research, experimental research, and action research. Most studies are dissertations, theses and research from educational institutes. Knowledge of the social sciences is mainly used for conducting research. It was also found that, during the last 10 years, medical anthropology and medical ethnography were frequently used for such studies. Overall, there is a limited number of items in the LWH literature; the research in this area lacks a framework and research direction; morever, the extent of study is not well defined. There is also no supporting system for LWH research and a lack of mechanisms for knowledge management to benefit from research to be used in policy or operational levels. The recommendation related to future LWH research is to establish an effective support system, a mechanism to utilize research, and a way to communicate the research results on LWH to the public. Research on LWH should start with medical anthropology and medical ethnography followed by other research fields which can be studied in parallel, or further exploration is needed to gain more knowledge and understanding about LWHin several dimensions. The integration of research and development on LWH will help assist the utilization of research results at the policy and operational levels.

 

Key words :indigenous or local wisdom for health, indigenous health, indigenous medicine, medical ethnography

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : เสาวณีย์ กุลสมบูรณ์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920611
This Month : 20998
Total Users : 1530124
Views Today : 8354
Server Time : 2024-09-20