ชื่องานวิจัย : ประเมินความเสี่ยงสารหนูของการบริโภคชาสมุนไพรชนิดซอง
ผู้แต่ง : นันทนา   สิทธิชัย
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การบริโภคชาสมุนไพรเป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะเชื่อว่ามีผลดีต่อสุขภาพอย่างไรก็ตามวัตถุดิบสมุนไพรที่ผลิตเป็นชานั้นมีโอกาสปนเปื้อนสารพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น สารหนูการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเสี่ยงการปนเปื้อนสารหนูในชาสมุนไพรชนิดซอง ๘ ชนิด ได้แก่ ชากระเจี๊ยบ, ชาขิง, ชาดอกคำฝอย, ชาชุมเห็ดเทศ, ชาใบหม่อน, ชามะขามแขก, ชารางจืด และชาหญ้าหนวดแมววีธีการศึกษาส่วนแรกใช้แบบสัมภาษณ์ที่จัดทำขึ้น ไปสัมภาษณ์ผู้ที่บริโภคชาสมุนไพร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค; ส่วนที่ ๒ เป็นการหาปริมาณสารหนูที่ปนเปื้อนทั้งในรูปปริมาณรวม และปริมาณสารหนูอนินทรีย์ โดยใช้เทคนิค atomic absorption spectrophotometryจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าเมื่อประมาณความเสี่ยงทั้งแบบกำหนดและแบบความน่าจะเป็น ค่าความเสียงของสารที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง และค่าความเสี่ยงของสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ส่วนค่าความเสี่ยงของสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งโดยใช้ค่าการกระจายของความน่าจะเป็นตาม Monte Carlo analysis ด้วยโปรแกรม @RISK 4.5.5 พบว่าชาทั้ง ๘ ชนิด อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ตั้งแต่ ๑ ถึง ๘ คนใน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ คน (ค่าที่ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากการได้รับสารหนูคือ ๑ ใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน) ทำให้สรุปได้ว่าการบริโภคชาสมุนไพรชนิดซองทั้ง ๘ ชนิดในการศึกษานี้ไม่มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเนื่องจากการได้รับสารหนู.

 

คำสำคัญ: ความเสี่ยงการปนเปื้อนสารหนู, ชาสมุนไพรชนิดซอง, การบริโภคชาสมุนไพร, อะตอมมิกแอปสอร์บชั่นสเปกโตรโฟโทเมตรีย์

Nowadays, consumption of herbal tea has become very popular among Thai people since it is believed that drinking herbal tea is good for health. However, some herbal raw materials used in the manufacture of herbal tea may be contaminated with toxic elements such as arsenic. The main objective of the study was to determine the risk of arsenic contamination in eight kinds of herbal tea sachets, namely, rosella tea, Cassia alata tea, safflower tea, ginger tea, Morus alba tea, senna tea, Thunbergia laurifolia tea and Orthosiphonaristatus tea. The procedures of the study comprised both a survey of herbal tea consumption in Thai people and a quantitative determination of arsenic content in herbal tea sachets. A survey of herbal tea consumption in Thai people was carried out by using a questionnaire. The total arsenic and inorganic arsenic in the selected herbal tea sachets was quantitatively determined by using atomic absorption spectrophotometry. The risk assessment described in terms of hazard quotient (HQ) and cancer risk (CR) was calculated using both deterministic and probabilistic risk assessment. As a result, both HQ and CR values of risk assessment for arsenic contamination in eight kinds of herbal tea sachets remained within acceptance criteria. For probabilistic risk assessment by @RISK® software, the cancer risk values were 1 to 8 in 10,000,000. Generally, the criteria of cancer risk value should not exceed 1 in 1,000,000. From this study, it can be concluded that the consumption of the eight herbal tea sachets does not put one at risk of developing cancer as a result of arsenic intake.

Key words: risk assessment of arsenic contamination, herbal tea sachets, herbal tea consumption, determination of arsenic content, atomic absorption spectrophotometry

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นันทนา สิทธิชัย

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921282
This Month : 21669
Total Users : 1530795
Views Today : 1826
Server Time : 2024-09-21