ชื่องานวิจัย : การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดยาหอมนวโกฐ
ผู้แต่ง : ปราณี   ชวลิตธำรง
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 7
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : –
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

ยาหอมนวโกฐเป็นตำรับที่ใช้ในการรักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ประกอบด้วยเครื่องยาพืชสมุนไพร ๕๔ ชนิดและพิมเสน ผู้รายงานได้ศึกษาพิษเฉียบพลันของสารสกัดยาหอมนวโกฐในหนูถีบจักรพันธุ์ไอซีอาร์จำนวน ๕๐ ตัว แบ่งเป็น ๕ กลุ่ม ๆ ละ ๑๐ ตัว โดย กลุ่มควบคุมป้อนด้วยน้ำกลั่นและกลุ่มทดลอง ๔ กลุ่มได้รับสารสกัดยาหอมนวโกฐทางปากในขนาด ๒, ๔, ๘ และ ๑๖ ก./กก. ตามลำดับ พบว่า สารสกัดยาหอมนวโกฐขนาด ๒ และ ๔ กรัม ไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันและไม่มีหนูตาย ส่วนขนาด ๘ และ ๑๖ ก./กก. ทำให้หนูตายร้อยละ ๑๐ และ ๗๐ ตามลำดับ จากการศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดยาหอมนวโกฐเป็นระยะเวลา ๖ เดือนในหนูแรทพันธุ์วิสตาร์ ๑๔๔ ตัว แบ่งออกเป็นกลุ่ม ๖ กลุ่ม ๆ ละ ๒๔ ตัว (เพศผู้ ๑๒ และเพศเมีย ๑๒ ตัว) กลุ่มควบคุมได้รับน้ำกลั่น และกลุ่มทดลอง ๕ กลุ่มได้รับสารสกัดยาหอมนวโกฐทางปากในขนาด ๑๐, ๑๐๐, ๕๐๐, ๑,๐๐๐ และ ๑,๐๐๐ มก./กก./วัน หรือเทียบเท่าประมาณ ๑, ๑๐, ๕๐, ๑๐๐ และ ๑๐๐ เท่าของขนาดยาหอมนวโกฐที่ใช้ในคนโดยกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มศึกษาการฟื้นตัวภายหลังหยุดให้สารสกัดเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า สารสกัดยาหอมนวโกฐไม่มีผลต่อค่าน้ำหนักตัวเฉลี่ย การกินอาหาร พฤติกรรม และสุขภาพทั่วไปของหนูแรท หนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดยาหอมนวโกฐขนาด ๑,๐๐๐ มก./กก./วันมีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้นและหนูเพศเมียที่ได้รับสารสกัดขนาดเท่ากันมีปริมาณเกล็ดเลือดสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อหยุดให้สารสกัดพบว่ามีแนวโน้มลดลง สารสกัดยาหอมนวโกฐไม่ทำให้ค่าท่าเคมีคลินิกผิดปกติแต่อย่างใด ผลการตรวจอวัยวะภายในทางจุลพยาธิวิทยาไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่มีความสัมพันธ์กับขนาดของสารสกัดที่ให้ สรุปได้ว่า สารสกัดตำรับยาหอมนวโกฐไม่ทำให้เกิดพิษเรื้อรังต่อหนูแรทวิสตาร์

 

คำสำคัญ: ยาหอมนวโกฐ, พิษเฉียบพลัน, พิษเรื้อรัง

Chronic Toxicity of Yahom Navagoth Extract

A Thai traditional recipe called yahom navogoth, has been used in the treatment of circulatory disorder symptoms. The recipe comprises 54 herbal plants and Borneol camphor. Acute toxicity of yahom navogoth extract (NGE) was assessed in 50 ICR mice randomly divided into five groups of 10 mice each as follows: A control group was given distilled water orally and four experimental groups were orally administered with NGE at doses of 2, 4, 8 and 16 g/kg, respectively. NGE at doses of 2 and 4 g/kg did not cause any acute toxic signs nor lethality, whereas doses of 8 and 16 mg/kg produced 10 and 70 percent mortality, respectively. Chronic toxicity study of yahom navogothextract was performed in 144 Wistar rats divided into six groups of 24 rats each (12 males and 12 females). The control group was given distilled water and the five experimental groups were administered yahom navagoth extract orally at doses of 10, 100, 500, 1000 and 1000 mg/kg/day, respectively, for six months. The extract doses given to the animals were approximately equivalent to 1, 10, 50, 100 and 100 times larger than the human therapeutic dose. The last group was used for a recovery study after two weeks discontinuation of the highest dose. The result revealed that NGE did not affect body weight, food consumption, behavior and the general health of the animals. Male rats receiving NGE at 1000 mg/kg/day had a significant increase in total leukocytes and female rats receiving the same dose had a significant increase in platelet counts. However, these hematological values tended to decrease after withdrawal of the extract. NGE did not cause any abnormality of clinical chemistry values. The incidence of histopathological alterations in the NGE-treated groups did not show any dose dependence with the extract. In conclusion, yahom navagothextract did not cause chronic toxicity in the Wistar rats.

 

Key words: yahom navagoth, acute toxicity, chronic toxicity

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ปราณี ชวลิตธำรง

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921225
This Month : 21612
Total Users : 1530738
Views Today : 1694
Server Time : 2024-09-21