ชื่องานวิจัย : การประเมินความเสี่ยงในการใช้ยาโฮมีโอพาธีย์ในคลินิกสาธิตของสมาคมโฮมีโอพาธีย์ประเทศไทย
ผู้แต่ง : นางสาว   ปราณี   ลิมป์วรวรรณ
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางโดยศึกษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย ในคลินิกสาธิตของสมาคมโฮมีโอพาธีย์ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินความเสี่ยงการใช้ยาโฮมีโอพาธีย์และเพื่อเป็นฐานข้อมูลของศาสตร์การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ในด้านความปลอดภัย โดยศึกษาจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2552-กุมภาพันธ์ 2553  จำนวน 185 คนคัดเลือกแบบสุ่มอิสระโดยใช้แบบสอบถามประเมินความเสี่ยงที่ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญทางศาสตร์โฮมีโอพาธีย์ 3 ท่าน นำเสนอข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่  ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า   ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์โฮมีโอพาธีย์ส่วนใหญ่เป็นเพศ หญิง  จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 70.3 อายุที่มารับการรักษามากที่สุด คือ  46-60 ปี  คิดเป็นร้อยละ 30.3 รองลงมา คือ อายุ 31-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.9   และพบว่าอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว มีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27 รองลงมาคือ  นักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 22.7 พนักงานเอกชน คิดเป็นร้อยละ 13.0 ตามลำดับ พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับการรักษามากที่สุด ร้อยละ 77.3 รองลงมา คือ ผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน ร้อยละ 14.6 และผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังแต่มีอาการเฉียบพลันนำมา ร้อยละ8.1  ประเภทความเจ็บป่วยที่พบมากที่สุด คือ โรคระบบผิวหนัง คิดเป็นร้อยละ 19.5 รองลงมา คือ โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อคิดเป็นร้อยละ 16.2  และ ภาวะทางจิตใจและอารมณ์  คิดเป็นร้อยละ 15.1 ตามลำดับ  ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาติดตามการรักษา 1- 2 ครั้ง ร้อยละ 45.4   และ มารักษา 3- 4  ครั้ง ร้อยละ 34.1 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าการรักษาส่วนใหญ่ไม่พบอาการAggravation  ร้อยละ 76.9   พบอาการ Homeopathic Aggravation  ร้อยละ 12.64  อาการ Disease Aggravationพบร้อยละ 3.99  และอาการ Medicinal Aggravation   ร้อยละ 6.38 ตามลำดับ   การประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนใหญ่ไม่พบความเสี่ยงระดับ 0 ( 0 Aggravation)  ร้อยละ  76.9    ระดับ 1 ( 1 Aggravation)  ร้อยละ 17.6    ระดับ 2  ( 2 Aggravations) ร้อยละ 3.9 ระดับ 3  (3 Aggravations) ร้อยละ 1.4  และระดับ 4 (4 Aggravations)  ร้อยละ 0.22   ผลการรักษาส่วนใหญ่ดีขึ้น ร้อยละ 87.69  เหมือนเดิม ร้อยละ 8.03  และแย่ลง 4.27 โดยพบว่ามียาโฮมีโอพาธีย์ 5 ชนิดที่ใช้บ่อยในการศึกษาครั้งนี้ คือ Carcinosinum, Sepia, MedorrhinumPulsatilla  และ Calcarea carbonica ตามลำดับ การรักษาโดยใช้ยาโฮมีโอพาธีย์นี้มีความเสี่ยงน้อย และมีความปลอดภัย ถ้าใช้ภายใต้ผู้เชี่ยวที่มีความรู้ในการแพทย์โฮมีโอพาธีย์  โดยผู้ป่วยสามารถใช้เป็นทางเลือกเสริมในการบำบัดรักษาโรคได้  แต่อย่างไรก็ตาม ข้อบ่งชี้ที่สำคัญในการบำบัดด้วยศาสตร์การแพทย์โฮมีโอพาธีย์จำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างเป็นระบบต่อไป

 

Homeopathy is accepted by WHO and used worldwide. Homeopathy is effective, safe and low cost.  Homeopathy is reported no serious side effect. In Thailand, however, usage of   homeopathy is increasing but no study about risk assessment has been reported among Thai population.  To assess the risk of  homeopathic treatment at Demonstration Clinic of Homeopathic Association of Thailand.  Cross-sectional study design was performed. One hundred-eighty five medical records, during January 2009- February 2010, were recruited for the study. Risk assessment record format was developed by researcher team. Validity and reliability of risk assessment format was approved by 3 specialist homeopaths in Thailand.  The demographic data showed that most of patients were female (70.3%). Age of patients were 46-60 years old (30.3%), 31-45 years old (25.9%).Dominate occupation was a private business (27.0%).Types of illness were chronic disease 77.3 %, acute disease 14.6% and acute on top chronic 8.1%.The  system disorders founded  in clinic were  Skin (19.5%), Musculoskeletal (16.2%) and  Mind   (15.1%) . The number of follow up   1-2 times was 45.4 %, 3-4  times  was   34.1% , respectively. The results revealed that patients had no experience of aggravation 76.9%, experienced homeopathic aggravation 12.64%, disease aggravation 3.99% and Medicinal aggravation 6.38%.  Risk level can be described  accordingly: Level 0 (no  aggravation)  76.9%., Level 1 (1 aggravation) 17.6%, Level 2 (2 aggravations) 3.9% , Level 3 (3 aggravations)1.4% and  Level 4 (4 aggravations) 0.22%.  The outcome of treatment was better 87.69% , no change 8.03% and worse 4.27%. The top five most used remedies were Carcinosinum, Sepia, MedorrhinumPulsatilla and Calcarea carbonica.  Homeopathic treatment by well trained homeopath is less harmful and more benefit to patient healths. The result of this study suggested that Homeopathy can be used as a safe alternative treatment for health care among Thai people. Anyhow priority and specific indication of Homeopathic treatment in Thai people need further systematic investigation.

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นางสาวปราณี ลิมป์วรวรรณ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921466
This Month : 21853
Total Users : 1530979
Views Today : 3730
Server Time : 2024-09-21