ชื่องานวิจัย : การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยจากใบพลูในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในห้องน้ำสาธารณะ
ผู้แต่ง : ประภัสสร    รักถาวร
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 3 ฉบับที่ 2
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          จากการสกัดสารสกัด และน้ำมันหอมระเหยพลูด้วยวิธีการสกัดเย็นด้วยเอทานอล และกลั่นด้วยวิธี water steam distillation ตามลำดับ พบว่า สารสกัด และน้ำมันพลูมีเปอร์เซ็นต์ผลผลิต 10.53 และ 0.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในห้องน้ำสาธารณะ 10 สายพันธุ์ ได้แก่ เชื้อStaphylococcus. aureus,S. epidermidis,Escherichia coli,Salmonella Typhimurium,Pseudomonas aeruginosa,Shigella flexneri,Klebsiellapneumoniae,Proteus mirabilis,Vibrio cholerae และBacillus cereusและเชื้อรา จำนวน 8 สายพันธุ์;Aspergillus niger,A. flavus,Penicillium sp.,Cladosporium cladosporioides,Chaetomium globosum,Rhizopus oligosporus และCurvularia lunata และCandida albicansด้วยวิธี disc diffusion method และ contact assay ตามลำดับ พบว่า สารสกัดและน้ำมันพลูมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำการทดสอบได้ทุกสายพันธุ์ สารสกัดพลูมีแนวโน้มในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดีกว่าน้ำมันพลู โดยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S.aureus ได้ดีที่สุด ในขณะที่น้ำมันพลูมีแนวโน้มในการยับยั้งเชื้อราได้ดีกว่าเชื้อแบคทีเรีย โดยยับยั้งเชื้อราCurvularia lunataได้ดีที่สุด และค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดพลูในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา อยู่ระหว่าง 32 –2048  mg/mlและ 512 –4096 mg/mlตามลำดับ และค่าความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำมันพลูในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา อยู่ระหว่าง 128 -4096 mg/ml  และ 128 –1024  mg/mlตามลำดับ

 

Ethanolic extraction of betel vine leaves by maceration technique gave 10.53 percentage yields, while betel oil getting from water and steam distillation technique gave 0.18 percentage yields. Extracts and essential oils betel leaf were tested for effectiveness against ten bacterial species;Staphylococcus. aureus,S. epidermidis,Escherichia coli,SalmonellaTyphimurium,Pseudomonasaeruginosa,Shigella flexneri,Klebsiella pneumoniae,Proteus mirabilis,Vibrio choleraeand Bacillus cereus and eight fungal species; Aspergillus niger,A. flavus,Penicillium sp.,Cladosporium cladosporioides,Chaetomium globosum,Rhizopus oligosporus, Curvularia lunata and Candida albicanswhich are microorganism contaminated in public toilets. Both extracts, betel extract and betel oil, inhibited growth of all tested microorganism. Ethanolic betel extract showed higher tendency to inhibit bacterial growth than fungal growth, and S. aureus was the most sensitive to the extract. Betel oil showed higher inhibitory effect to fungal growth than bacterial growth and gave the highest inhibitor effect against Curvularia sp. Minimal Inhibitory Concentration (MIC) of betel extract against the bacteria and fungi ranged between 32-2048 µg/ml and 512-4096 µg/ml. MIC of betel oil ranged between 128-4096 µg/ml and 128-1024 µg /ml, respectively.

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ประภัสสร รักถาวร

There are many writers who can write well on specific topics and if best essay sites you would love to have your article written on the specific subject, then you are going to need to get in touch with the author through e-mail.

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921417
This Month : 21804
Total Users : 1530930
Views Today : 3031
Server Time : 2024-09-21