ชื่องานวิจัย : การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่จำหน่ายในท้องตลาดเพื่อใช้ในธุรกิจบริการสุขภาพ(สปา) คันธบำบัด และการแพทย์ทางเลือก
ผู้แต่ง : นายแพทย์   เทวัญ   ธานีรัตน์
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 2 ฉบับที่ 2
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) :
สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

สำรวจความนิยมของน้ำมันหอมระเหยในแหล่งจำหน่ายต่างๆ ได้แก่ ร้านค้าน้ำมันระเหย ร้านค้าในตลาดนัด และห้างสรรพสินค้า รวม  44  ร้าน พบว่าน้ำมันระเหยที่เป็นที่นิยมของประชาชนสูงสุด 10 อันดับ คือ ลาเวนเดอร์  กุหลาบ  มะลิ  เป็บเปอร์มินต์  ตะไคร้หอม/ตะไคร้ ยูคาลิปตัส  โรสแมรี  โมก  กระดังงา  และ ส้ม  ตามลำดับ  วิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันระเหยทั้ง 10 ชนิด จากแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ดังกล่าวประมาณ 30 ตัวอย่าง ต่อชนิด  รวม 300ตัวอย่าง และน้ำมันระเหยมาตรฐาน โดยวิธี  Gas chromatography/Mass spectrometry ใช้ capillary column ชนิด BPX5 ขนาด 30 ม x 0.25 มม x 0.25 ไมครอน อุณหภูมิระหว่าง 60 °C ถึง 240 °C ผลการศึกษา พบว่า น้ำมันระเหยส่วนใหญ่ตรวจพบสารประกอบกลุ่ม phthalate ester ซึ่งเป็น สารสังเคราะห์ที่ไม่พบในผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ แต่อาจพบได้ในผลิตภัณฑ์จำพวกกลิ่นสังเคราะห์  หลายตัวอย่างตรวจพบสารสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบทางเคมีหลักคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 90  หลายตัวอย่างพบสารสังเคราะห์หลายชนิดปนกัน ซึ่งสารสังเคราะห์เหล่านี้จัดเป็นสารก่อระคายเคืองทั้งสิ้น บางชนิดสามารถสะสมในเนื้อเยื่อไขมันรวมทั้งน้ำนมมารดาด้วย

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : นพ.เทวัญ ธานีรัตน์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921595
This Month : 21982
Total Users : 1531108
Views Today : 4153
Server Time : 2024-09-21