ชื่องานวิจัย : การจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานในโรงพยาบาลของรัฐ : ทิศทางที่ควรจะเป็น
ผู้แต่ง : มนทิพา   ทรงพานิช
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : –
ฉบับที่ : ปฐมฤก
ปีที่วิจัย : 2008
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) :
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

     การจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานในโรงพยาบาลของรัฐ เป็นภารกิจหนึ่งที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกให้ความสำคัญ และต้องการส่งเสริมให้มีการกระจายรูปแบบการให้บริการในสถานบริการสุขภาพต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยมีการจัดบริการด้วยการแพทย์แบบผสมผสาน ซึ่งใช้ทั้งศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน แผนไทย พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกร่วมกัน เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน

บทความนี้ได้ศึกษาแนวคิด รูปแบบการจัดบริการแบบผสมผสาน และแนวทางการจัดบริการแบบผสมผสานที่ควรจะเป็นในโรงพยาบาลของรัฐที่มีการจัดบริการแบบผสมผสานภาคละ 1 แห่ง     รวม 4 แห่ง คือ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนองโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึกผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบการแพทย์ผสมผสาน ส่วนผู้มาใช้บริการได้ใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์

ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่ง มีการจัดบริการแบบผสมผสานโดยนำเอาเทคนิควิธีการของแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกที่ไม่สลับซับซ้อนมาผสมผสานเพื่อเสริมการรักษาร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยให้บริการทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และในหอผู้ป่วยพิเศษ มีการให้บริการแบบจัดเป็นโปรแกรมสุขภาพเฉพาะกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความสนใจและจัดตั้งขึ้นมาเป็นหน่วยงานต่างหาก แนวคิดในการให้บริการยึดหลัก การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เน้นการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพแต่ในทางปฏิบัติยังทำได้บางส่วน ส่วนกลุ่มผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นข้าราชการ และข้าราชการบำนาญที่สามารถเบิกค่ารักษาได้ ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง การให้บริการยังไม่สามารถกระจายไปสู่ชนชั้นระดับรากหญ้าได้ รายได้จากการจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานในโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่ง ทำให้โรงพยาบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถนำไปชดเชยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้

แนวทางการจัดบริการสุขภาพแบบผสมผสานในสถานบริการของรัฐควรนำความเป็นองค์รวมซึ่งเป็นจุดแข็งของการแพทย์แผนไทยและทางเลือกมาเติมเต็มสิ่งที่จุดอ่อนของการแพทย์แผนปัจจุบัน ควรเน้นการส่งเสริมป้องกันมากกว่าการรักษาและมีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการที่มีเศรษฐานะแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงการให้บริการแบบผสมผสานได้

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) :
เจ้าของงานวิจัย : มนทิพา ทรงพานิช

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5922668
This Month : 23055
Total Users : 1532181
Views Today : 2510
Server Time : 2024-09-22