โดย : อาจารย์มนตรี ตั้งใจ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันพบว่า โมเลกุลฟลาโวนอยด์ (flavonoids)ซึ่งพบมากในพืชและอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน เช่น ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากพืชต่างๆ เช่น ไวน์ ชา โกโก้ น้ำผลไม้ เป็นต้น ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากว่าฟลาโวนอยด์มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ ฟลาโวนอยด์ประกอบด้วย ฟีนอลิค ริง (phenolic ring) และแทนที่ในตำแหน่งต่างๆ ด้วยหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างหลักและการแทนที่ของหมู่ไฮดรอกซิล เช่น ฟลาโวนนอล (flavonols) ฟลาโวน (flavones) ฟลาแวนนอน (flavanones) เป็นต้น อย่างที่ทราบกันทั่วไปว่า ประสิทธิภาพของโมเลกุลจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นที่สามารถสะสมที่เป้าหมายภายในเซลล์ ซึ่งการที่โมเลกุลจะสะสมที่เป้าหมายภายในเซลล์ได้นั่น โมเลกุลต้องมีความสามารถในการผ่านเมมเบรนของเซลล์ (cell membrane)ได้ ซึ่งความสามารถในการผ่านเมมเบรนของเซลล์นั่นจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเชิงเคมีฟิสิกส์ของโมเลกุลนั่นเองวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาคุณสมบัติเชิงเคมีฟิสิกส์และการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดชนิด erythromyeogenous leukemic และเซลล์มะเร็งปอดชนิด small cell lung carcinoma ของโมเลกุล ฟลาโวนอยด์ 4 ชนิด ได้แก่ อาพีจีนีน(apigenin) อีริโอดิคตีออน(eriodictyol) คาเฟอรอน(kaempferol) และเคอซีติน(quercetin)วิธีการศึกษาการศึกษาคุณสมบัติเชิงเคมีฟิสิกส์: ละลายฟลาโวนอยด์แต่ละชนิดในระบบที่ประกอบไปด้วยบิวธา นอล (butanol) กับบัฟเฟอร์ 1: 1 จากนั้นแยกเอาส่วนบิวธานอลและบัฟเฟอร์ไปหาความเข้มข้นของฟลาโวนอยด์ที่ละลายอยู่ในแต่ละส่วนด้วยเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (spectrophotometer) การศึกษาการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดชนิด erythromyeogenous leukemic และเซลล์มะเร็งปอดชนิด small cell lung carcinoma: บ่มเซลล์กับฟลาโวนอยด์เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากนั้นนำเซลล์ไปวัดความอยู่รอดของเซลล์ด้วยวิธี เอ็มทีที (MTT assay)ผลการศึกษา

จากผลการศึกษาพบว่า อาพีจีนีน อีริโอดิคตีออน คาเฟอรอน และเคอซีติน สามารถละลายในบิวทานอลได้ดีกว่าในบัฟเฟอร์ และยังพบอีกว่าฟลาโวนอยด์ทั้ง 4 ชนิดสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งอยู่ในระดับไมโครโมลาร์

สรุปผลการศึกษา

จะเห็นได้ว่าฟลาโวนอยด์ชอบที่จะละลายในสารละลายที่ไม่มีขั้วมากกว่ามีขั้ว และยังพบอีกว่าคุณสมบัติเคมีฟิสิกส์มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของ ฟลาโวนอยด์ จากผลการศึกษานี้ฟลาโวนอยด์มีประสิทธิภาพที่จะสามารถพัฒนาเป็นยาสำหรับใช้ในการรักษาโรคมะเร็งคำสำคัญ คุณสมบัติเชิงเคมีฟิสิกส์ เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดชนิดerythromyeogenous leukemic เซลล์มะเร็งปอดชนิด small cell lung carcinoma ฟลาโวนอยด์

เอกสารอ้างอิง

S. Kothan, S. Dechsupa, G. Leger, J.L. Moretti, J. Vergote, and S. Mankhetkorn
Spontaneous mitochondrial membrane potential change during apoptotic induction by quercetin in K562 and K562/adr cells Can. J. Physiol. Pharmacol. 82: 1084–1090 (2004)

สร้างเมื่อ 16 – พ.ค.- 49

 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิชาการ (pdf)
บทคัดย่องานวิจัย (pdf)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920284
This Month : 20671
Total Users : 1529797
Views Today : 7224
Server Time : 2024-09-20