โดย : อาจารย์ไพบูลย์ เรืองพัฒนพงศ์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การดื้อยาแบบ multidrug resistance (MDR) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาไม่ได้ผล การดื้อยาแบบ MDR มีการศึกษาทั้งในมะเร็ง แบคทีเรีย มาลาเรีย และเอดส์ โดยลักษณะการดื้อต่อยาในเซลล์ MDR พบว่ามีการสะสมของยาภายในเซลล์ใน

ปริมาณที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับเซลล์มะเร็งที่ไวต่อยา โดยพบว่ากลไกการดื้อยาส่วนใหญ่มีสาเหตุเกิดจากโปรตีนขนส่งที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ (protein membrane transporters) ชนิด P-glycoprotein (P-gp) และ multidrug resistance associated protein (MRP1-protein) ทำการปั๊มยาหรือโมเลกุลที่เป็นพิษจากภายในเซลล์ออกนอกเซลล์โดยอาศัยพลังงานจากการสลาย ATP ทำให้ ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง

ในปัจจุบันการแก้ปัญหาการดื้อยาแบบ MDR นิยมใช้โมเลกุลที่มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งการทำงานของ ชนิด P-gp และ MRP1-protein ร่วมกับยาต้านมะเร็ง เมื่อโปรตีนถูกยับยั้งก็จะทำให้ยาต้านมะเร็งถูกขับออกได้น้อยลง ประสิทธิภาพในการยับยั้งเซลล์มะเร็งสูงขึ้น ดังนั้นเราจึงสนใจที่จะศึกษาประสิทธิภาพของ qinghaosu เช่น อาร์ทีมิซินิน อาร์ทีซูเนท และ ไดไฮโดรอาร์ทีมิซินิน ซึ่งเป็นตระกูลยาที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคมาลาเรีย สายพันธุ์ Plasmodium falciparum ที่พบว่ามีกลไกการดื้อต่อยาแบบ MDR คล้ายกับในเซลล์มะเร็งมาก โดยจากการศึกษาพบว่า qinghaosu มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง และสามารถยับยั้งการขับยาออกนอกเซลล์ของ P-gp ได้ แต่อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับ Cyclosporin A และ verapamil โดยพบว่าความเข้มข้นของ qinghaosu ที่สามารถยับยั้งการทำงานของ P-gp ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ มีค่าเท่ากับ 120 M Cyclosporin A เท่ากับ 1 M และ Verapamil เท่ากับ 2 M และพบว่าไม่มีผลยับยั้งการทำงานของ MRP1-protein แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามพบว่า qinghaosu มีประสิทธิภาพสูงในการเป็น MDR reversing agents โดย qinghaosu มีผลทำให้ความต่างศักย์เมมเบรนของไมโตคอนเดรียลดลง ส่งผลให้ระดับพลังงานเอทีพีลดลง โมเลกุลมีการชักนำให้เซลล์มะเร็งมีการตายแบบ apoptosis เกิดขึ้น และเมื่อใช้ qinghaosu ร่วมกับยาต้านมะเร็งชนิด pirarubicin และ doxorubicin ในเซลล์มะเร็งชนิด K562/adr และ GLC4/adr พบว่าเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยาต้านมะเร็ง อย่างมีนัยสำคัญ
คำสำคัญ อาร์ทีมิซินิน, อาร์ทีซูเนท, ไดไฮโดรอาร์ทีมิซินิน, P-glycoprotein (P-gp), Multidrug resistance associated protein (MRP1-protein), ความต่างศักย์เมมเบรนของไมโตคอนเดรีย และ การตายแบบapoptosis

เอกสารอ้างอิง

1. Modulation of Multidrug Resistance by Artemisinin, Artesunate and Dihydroartemisinin in K562/adr and GLC4/adr Resistant Cell Lines. Reungpatthanaphong P. and Mankhetkorn S. Biol. Pharm. Bull. 25(12) 1555-1561 (2002)2. Rhodamine B as a mitochondrial probe for measurement and monitoring of mitochondrial membrane potential in drug-sensitive and -resistant cells. Reungpatthanaphong P., Dechsupa S., Meesungnoen J. Loetchutinat, C. and Mankhetkorn S. J. Biochem. Biophys. Methods 1663 (2003) 1 – 16


 

สร้างเมื่อ 17 – พ.ค.- 49

 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทคัดย่องานวิจัย (pdf)
สไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิชาการ (pdf)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920304
This Month : 20691
Total Users : 1529817
Views Today : 7358
Server Time : 2024-09-20