โดย : นายแพทย์เอกชัย ปัญญาวัฒนานุกูล
อดีตผู้อำนวยการ ร.พ.กาบเชิง จ.สุรินทร์
ในช่วงแรกของการระบาดของเอดส์ในภาคเหนือ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีขนาด 10 เตียง หมอที่ดูแลผู้ป่วยเอดส์เล่าให้ฟังว่า มีผู้ป่วยเอดส์ 7 คน ป่วยพร้อมกัน เป็นเพื่อนกับทั้งหมดแต่มีเพียงรายเดียวที่มีอาการหนัก ส่วน

คนทีเหลือ มีอาการไม่รุนแรงปรากฏว่าเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเสียชีวิต คนที่เหลือ ก็ทยอยเสียชีวิตต่อกันไปจนครบทุกคน สาเหตุน่าจะมาจากเห็นเพ่อนิเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตา ทำให้คนที่เหลือหมดกำลังใจที่จะสู้ชีวิต ร่างกายจึงทรุดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเสียชีวิต

ผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี เมื่อมีอาการและตรวจพบว่าเป็นมะเร็งแล้ว แพทย์จะให้ข้อมูลกับผู้ป่วยว่า จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 3 – 6 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็วและอาจเสียชีวิตเร็วกว่าที่คิดในบางราย เนื่องจากท้อแท้ หมดหวังในชีวิตปรากฏการณ์เหล่านี้ผู้เขียนพบเห็นอยู่เนื่อง ๆ แต่ก็สังเกตว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นมะเร็ง หรือโรคเอดส์ สามารถต่อสู้กับโรคร้ายได้อย่างน่าประทับใจ บางคนใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุขเหมือนคนไม่ได้ป่วยไข้ บางคนสามารถยืดชีวิตไปได้อีกหลายปีหลังจากที่หมอเจ้าของไข้คาดว่าน่าจะอยู่ได้ไม่นาน บางคนมีอาการทรุดลงอย่างมากจนไม่น่าจะรอด แต่กลับพลิกฟื้นร่างกายจนกระทั่งกลับมาเอาชนะโรคร้ายได้ และยังมีบุตรคนที่สองได้อีกด้วย หรืออิทธิฤทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ บ้างก็ว่าได้รักษากับหมอเทวดา ไม่ว่าจะกล่าวอ้างอย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวของผุ้เขียนที่ได้รักษา หรือสังเกตจากคนป่วยเหล่านี้ ประกอบกับมีโอกาสได้ศึกษาความรู้เรื่องสุมนไพรจากหมอพื้นบ้านบ้าง จากตำราโบราณและจากงานวิจัยสมุนไพรของนักวิชาการด้านสมุนไพร รวมทั้งการแพทย์สาขาอื่นนอกเหนือจากการแพทย์กระแสหลัก เชื่อว่าปัจจัยหลักอยู่ที่ตัวคนไข้เอง ถ้าสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันของตนเองดีขึ้นได้ ก็มีโอกาสที่จะยืดชีวิตหรือหายจากโรคได้เช่นกัน ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ กำลังใจ การควบคุมอารมณ์ การกินอาหาร การออกกำลังกาย การหลีกเหลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่จะกระตุ้นให้อาการของโรคร้ายกำเริบ โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดคือ การมีกำลังใจที่ดีหรือความหวังที่จะต่อสู้กับโรคร้ายได้

จากหนังสือ : รวบรวมองค์ความรุ้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

บรรณาธิการ : นางภัคภร ช่วยคุณูปการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทความ : แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่สับสน โดย : นายแพทย์เอกชัย ปัญญาวัฒนานุกูล

 

 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919064
This Month : 19451
Total Users : 1528577
Views Today : 1054
Server Time : 2024-09-20