โดย : อ.พิศิษฐ์ เบญจมงคลวารี
โรงเรียนพิศิษฐ์เวชกรรมแผนไทย

ดัดตนแก้ปวดหลัง

ปวดหลัง เป็นคำที่นิยมใช้เรียกกันทั่วไป มักหมายถึงอาการปวดหรือเจ็บบริเวณตั้งแต่ต้นคอถึงก้นกบ มักเกิดจากการนั่งหรือนอนไม่เหมาะสม หรือการยกของหนักเกินไป ทำให้ปวดและยอกบริเวณดังกล่าวได้

จากประสบการณ์พบว่า การแนะนำให้ผู้ที่มีอาการปวดหลัง (ซึ่งไม่ใช่เนื่องจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือมีหินปูนไปกทับถูกเส้นประสาท) ใช้วิธีการดัดตนแบบง่ายๆ ก็ช่วยให้อาการปวดหายไปได้โดยไม่จำเป็นต้องนวด ท่าที่จะขอแนะนำมี 4 ท่า คือ

1. ท่าดึงเข่าชิดอก

นอนหงายยกขา (ข้างเดียวกับที่ปวดหลัง) ขึ้นประมาณ 45 องศา แล้วงอเข่าเข้าหาอก เอามือทั้งสองดึงเข่าให้ชิดอก โดยขาอีกข้างวางราบกับพื้น เสร็จแล้วให้เหยียดขาออกไป ทำ 10 ครั้ง (ภาพที่ 1)

2. ท่าไขว่ห้างบิดเอว

นอนหงาย ชันเข่า ยกขา (ข้างเดียวกับที่ปวดหลัง) ขึ้นไขว่ห้าง เอามือช่วยโน้มให้เข่าไปติดพื้นด้านตรงข้าม หายใจเข้าออก 3 ครั้ง แล้วกลับอยู่ในท่าเดิม (ภาพที่ 2)

3. ท่ากอดเข่านอนหงาย

 

ชันเข่าทั้ง 2 ข้าง ยกเข่าทั้งสองเข้าหาอก ใช้มือทั้งสองดึงเข่าและยกศีรษะขึ้นให้คางชิดกับเข่า ทำ 10 ครั้ง (ภาพที่ 3)

4. ท่าเหยียดขา

ถ้าทำท่าที่ 1, 2, 3 แล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ให้นั่งเหยียดขา เอาหลังพิงฝาหรือเสาไว้ เอาขาข้างเดยวกับที่ไม่ปวดหลังไขว้ทับต้นขาอีกข้าง โน้มตัวไปข้างหน้าใช้มือทั้งสองจับปลายเท้าข้างที่เหยียดอยู่ ถ้าจับไม่ถึงให้ชันเข่าเอาแขนกอดเข่าข้างเดียวกับที่ไม่ปวดหลังไว้ มืออีกข้างจับปลายเท้าข้างเดียวกับที่ปวดหลัง ค่อยๆ เหยียดขาให้ตรงโดยที่มือยังจับปลายเท้าอยู่ เมื่อเหยียดสุดแล้วให้งอขากลับ ทำสลับกันประมาณ 10 ครั้ง (ภาพที่ 4)

ท่าต่างๆ เหล่านี้อาจจะดูเหมือนง่ายๆ คนทั่วไปมักจะนึกไม่ถึงว่าท่าบริหารเหล่านี้ช่วยแก้อาการปวดที่หลังได้ เวลาปวดหลังมักจะใช้วิธีผิดๆ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อที่หลังอักเสบ บาดเจ็บมากขึ้น

กายบริหาร คลายปวดหลัง ไหล่ แขน

 จากประสบการ์ของผมพบว่า มีคนเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเจ็บปวดเนื่องจากอาการเส้นตึงบริเวณลำตัวช่วงบน ซึ่งมีสาเหตุสำคัญเนื่องจากความเครียดในชีวิตประจำวัน นอกจากการนวดเพื่อให้เส้นสายต่างๆ คลายลงแล้ ผมมักจะแนะนำให้ผู้ถูกนวดรู้จักบริหารกายเพื่อยืดเส้นที่ยึดนั้นให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยแนะนำท่าบริหารเหล่านี้

1. นั่งคุกเข่า แล้วโน้มลำตัวไปข้างหน้าให้ต้นขาตั้งฉากกับพื้นเหยียดแขนทั้งสองข้างให้สุด ใช้ฝ่ามือวางบนพื้น แล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวให้ก้นชิดส้นเท้าโดยฝ่ามือยังกดแนบกับพื้น

ท่านี้จะช่วยยืดเส้นบริเวณไหล่ แขน และสีข้าง เมื่อทำในครั้งแรกๆ ท่านอาจรู้สึกได้ถึงอาการตึงบริเวณไหล่ และแขน แต่เมื่อทำหลายๆ ครั้งเป็นประจำจะช่วยยืดเส้นให้หย่อนจนการตึงลดลง ท่านี้อาจทำโดยเหยียดแขนทีละข้าง ให้แขนอีกข้างงอศอกเล็กน้อย ทำท่านี้ประมาณ 15 วินาที

2. นั่งคุกเข่า โน้มลำตัวไปข้างหน้าให้ต้นขาตั้งฉากกับพื้น วางฝ่ามือบมพื้นให้ปลายนิ้วหันเข้าหาตัว นิ้วหัวแม่มือหันออกข้างลำตัว แขนตั้งฉากกับพื้น แล้วค่อยๆ เคลื่อนตัวให้ก้นไปชิดส้นเท้า ท่านจะรู้สึกตึงเส้นแขนด้านหน้าและเอว ให้ทำท่านี้ประมาณ 15 วินาที

3. ยืนตัวตรง เหยียดแขนตรงเหนือศีรษะให้สุด พร้อมกับไขว้แขน ให้ฝ่ามือประกบกัน ค่อยๆ ยืดแขนเอนตัวไปข้างหน้าและข้างหลังช้าๆ หายใจเข้าลึกๆ ขณะเอนไปข้างหน้า จะช่วยยืดเส้นทางด้านนอกของแขนไหล่ และชายโครง ทำท่านี้ประมาณ 10 วินาที

4. ยืนตัวตรง งอข้อศอกไปข้างหน้า ใช้ฝ่ามืออีกข้างค่อยๆ ดันข้อศอกให้เข้าหาอก ท่านี้จะช่วยยืดเส้นบริเวณไหล่และหลัง ทำท่านี้ประมาณ 10 วินาที

5. ยืนตัวตรง งอศอกไว้ที่ด้านหลังของศีรษะ ใช้มืออีกข้างดันข้อศอกไปข้างหลัง ท่านี้จะช่วยยืดเส้นไหล่และแขน ทำท่านี้ประมาณ 15 วินาที

6. ยืดตัวตรง ยกแขนข้างหนึ่งขึ้นแล้วงอข้อศอก เพื่อจับกับมืออีกข้างหนึ่งตรงกลางหลัง เมื่อจับมือกันได้แล้ว ให้นิ่งไว้สักพัก แล้วผลัดทำอีกข้าง หากไม่สามารถจับกันได้ ให้ใช้ผ้าจับกันแทนมือ (ภาพที่ 1)

7. ยืนตัวตรง เหยียดแขนตรงไปข้างหน้าในระดับไหล่ ประสานนิ้วมือโดยให้ฝ่ามือหันออกไป ค่อยๆ ยกแขนขึ้น ให้มือที่ประสานกันอยู่เหนือศีรษะ (ภาพที่ 2)

8. ยืนตัวตรง ให้มือข้างซ้ายจับข้อมือขวาที่บริเวณหลัง เอียงคอไปข้างซ้ายพร้อมๆ กับดึงแขนข้างขวา นิ่งไว้สักพัก แล้วทำสลับกันอีกข้าง (ภาพที่ 3)

9. ยืนตัวตรง ใช้มือทั้งสองจับขอบประตูในระดับไหล่ ให้แขนทั้งสองเหยียดตรงไปด้านหลัง แล้วเอนตัวไปข้างหน้า ยืดหน้าอก เก็บคาง (ภาพที่ 4)

10. ยืนตัวตรง ประสานมือบริเวณหลัง ให้ฝ่ามือหันลงหาพื้น ค่อยๆ เหยียดแขนตรงพร้อมกับดันข้อศอกให้เข้าหากัน (ภาพที่ 5) แล้ยกแขนขึ้น ยืดหน้าอก เก็บคาง (ภาพที่ 6)

ท่าบริหารกายทั้งหมดที่แนะนำมานี้ให้ทำท่าละประมาณ 10-15 วินาที และระวังอย่ายืดเส้นด้วยความรุนแรง ค่อยๆ ทำ และทำเป็นประจำทุกวัน ท่านจะพบว่าอาการปวดหลัง ไหล่ และแขนที่เคยมีเป็นประจำ จะค่อยๆ ลดลงไป


 

การใช้ยาไทยประกอบการนวด

การอบไอน้ำสมุนไพร

การอบไอน้ำสมุนไพร หรือการอบสมุนไพร เป็นวิธีการดูแลรักษาวิธีหนึ่งของการแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดแผนไทยหลักการอบสมุนไพร คือ ต้มสมุนไพรกับน้ำจนเดือด ไอน้ำ น้ำมันหอมระเหย และสารระเหยได้ต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในสมุนไพรจะออกมาสัมผัสถูกผิวหนัง ทำให้มีผลเฉพาะที่ และเข้าไปกับลมหายใจ ซึ่งจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจและผลทั่วร่างกาย

ผลของการอบสมุนไพร

ผลของการอบสมุนไพรเกิดจากผลของไอน้ำ และผลจากน้ำมันหอมระเหยและสารระเหยต่างๆ ในสมุนไพร ซึ่งซึมผ่านชั้นผิวหนังและเข้าไปกับลมหายใจผลของไอนำที่ได้จากการอบสมุนไพรมีดังต่อไปนี้1. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย2. ช่วยทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น3. ช่วยทำให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากขึ้น ขยายรูขุมขน4. ช่วยทำให้ทางเดินหายใจชุ่มชื้น ช่วยละลายเสมหะทำให้ขับออกมาได้ง่ายขึ้น5. ช่วยลดการอักเสบและบวมที่เยื่อบุของทางเดินหายใจตอนบน6. ช่วยลดการระคายเคืองในลำคอ

ผลของตัวยาสมุนไพร

สมุนไพรที่นิยมใช้ในการอบสมุนไพร มี 4 พวกใหญ่ๆ คือ1. สมุนไพรที่มีนำมันหอมระเหย ได้แก่ เหง้าไพล เหง้าขมิ้นชัน เหง้าขมิ้นอ้อย เหง้าข่า เหง้ากระทือ เหง้าว่านน้ำ ต้นตะไคร้ กะเพรา ใบหนาด การบูรต้น เป็นต้น มีฤทธิ์ทำให้โล่งจมูก ขยายหลอดลม ฆ่าเชื้อโรคบางชนิด2. สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ผลมะกรูด เป็นต้น มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยชำระสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง3. สมุนไพรที่มีสารที่ระเหยแล้วมีกลิ่นหอม ได้แก่ การบูร พิมเสน ช่วยบำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง4. สมุนไพรที่รักษาเฉพาะโรค ได้แก่ ผักบุ้งขัน เหงือกปลาหมอ ทองพันชั่ง สำมะงา ใช้รักษาโรคผิวหนัง หัวหอม หัวเปราะหอม ใช้แก้หวัดคัดจมูก ผักบุ้งขัน ผักบุ้งรั้ว ผักชีล้อม ใช้ลดอักเสบบวม แก้เหน็บชาและน้ำเหลืองเสีย เป็นต้นสมุนไพรทั้ง 4 พวกนี้ใช้ได้ทั้งอบและอาบ ซึ่งช่วยให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นกว่าการอบเพียงอย่างเดียว

ประโยชน์ของการอบสมุนไพร

การอบไอน้ำสมุนไพร ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้1. แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ผ่อนคลายความเครียด2. ลดน้ำหนัก และเสริมความงามของผิวพรรณ3. ในกรณีสตรีหลังคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลา4. ในกรณีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย5. ในกรณีผู้ติดยาเสพติด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ลดอาการเซื่องซึม

ตำรับยาอบสมุนไพร

เหง้าไพล ขมิ้นอ้อย ขิง ต้นตะไคร้ ผิวส้มโอ หัวหอมแดง ใบมะขาม ใบส้มเสี้ยว ผักบุ้งล้อม ผักบุ้งขัน รากหญ้าคา เปลือกต้นชะลูด ผลกระวาน ดอกกานพลู เกลือ และการบูร (หากหาตัวยาได้ไม่ครบ ก็ใช้เท่าที่หาได้ แต่ควรมีเหง้าไพล และการบูรซึ่งเป็นตัวยาสำคัญ)

วิธีอบน้ำสมุนไพร

วิธีที่ 11. ต้มน้ำในหม้อเคลือบ (หรือหม้อหุงข้าวไฟฟ้า) ให้เดือด ใส่ตัวยาสมุนไพรลงไป ปิดฝาหม้อ ต้มต่อไปจนเดือดมีไอน้ำออกมา แล้วยกหม้อลงจากเตา เอาไปวางในกระโจม ซึ่งอาจทำเองได้ง่ายๆ2. ก่อนเข้ากระโจม ควรถอดเสื้อผ้าออกให้เหลือน้อยชิ้นที่สุด ใช้ว่านนางคำฝนหรือตำคั้นเอาน้ำผสมกับเหล้าและการบูรทาให้ทั่วตัว3. เข้าไปในกระโจม ค่อยๆ แง้มฝาหม้อ โรยการบูรและพิมเสนลงไป ให้ไอน้ำออกมารมถูกลำตัว ใบหน้า และส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าไอน้ำจะหมด4. เมื่อเสร็จจากการอบสมุนไพร ให้ใช้น้ำสมุนไพรในหม้อที่ยังอุ่นๆ อาบน้ำ สระผม ขัดถูตามตัว แล้วเช็ดตัวให้แห้ง อย่าไปตากลงหรืออาบน้ำเย็นทันที นั่งพักสักครึ่งชั่วโมง ไม่ควรลุกยืนหรือเดินทันที ควรดื่มน้ำส้มหรือน้ำมะนาว (ที่ไม่ใส่น้ำแข็ง) เพื่อชดเชยการเสียเหงื่อแล้วจึงอาบน้ำธรรมดาล้างตัว

การประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร เป็นวิธีการดูแลรักษาสุขภาพของการแพทย์แผนไทยอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย โดยมากมักใช้วิธีการประคบสมุนไพร หลังจากการนวดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ผลของการประคบสมุนไพร

ผลของการประคบสมุนไพร เกิดจากผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ และผลจากการที่ตัวยาสมุนไพรซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกายผลของความร้อน ความร้อนที่ได้จากการประคบมีต่อการรักษาดังต่อไปนี้1. ช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังฝืดยืดตัวออก2. ลดการติดขัดของข้อต่อ3. ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ4. ลดปวด5. ช่วยลดอาการบวมที่เกดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ หลัง 24-48 ชั่วโมง6. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

ผลของสมุนไพร

สมุนไพรที่ใช้ในตำรับยาลูกประคบ อาจแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วๆ ไป ตัวยาหลักหรือตัวยาสำคัญจะคล้ายๆ กัน ในที่นี้จะขอยกมาเป็นตัวอย่าง 1 ตำรับ

ตัวยาสมุนไพร

ปริมาณ

รสยา

สรรพคุณที่เกี่ยวข้อง

1.เหง้าไพลสด

2.เหง้าขมิ้นอ้อย

3.เหง้าขมิ้นชัน

4.ต้นตะไคร้

5.ผิวมะกรูด

6.ใบมะขาม

7.ใบส้มป่อย

8.การบูร

9.พิมเสน

10.เกลือเม็ด

11.เถาเอ็นอ่อน

ครึ่งกิโลกรัม

รวมกันครึ่งขีด

1 ขีด

1 ผล

รวมกันครึ่งขีด

1 ช้อนชา

1 ช้อนชา

1 ช้อนชา

ครึ่งขีด

รสฝาดขื่นเอียน

รสฝาดเฝื่อน

รสฝาดเอียน กลิ่นหอม

รสปร่ากลิ่นหอม

รสปร่ากลิ่นหอม ติดร้อน

รสเปรี้ยวฝาด

รสเปรี้ยวฝาด

รสร้อน

รสเย็น

หอมเล็กน้อย

รสขมติดเมา

แก้ฟกช้ำ บวม แก้เคล็ด ขัด ยอก

แก้ลม แก้ฟกช้ำ บวม แก้เคล็ด ขัด ยอก

แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน สมานแผล

แต่งกลิ่นให้หอม แก้ปวดเมื่อย

แต่งกลิ่นให้หอม ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น

แก้ฟกบวม

ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน

แก้เคล็ด ขัด ยอก บวม

แก้ลมวิงเวียน รักษาแผล

 

แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นตึง บำรุงเส้น

วิธีที่ 2ใช้หม้อต้มอยู่นอกกระโจม ต่อท่อจากหม้อต้มเข้าไปในกระโจม วิธีนี้จะมีไอน้ำตลอดเวลาที่ยังต้มยาอยู่

ระยะเวลาในการอบสมุนไพร

1. กรณีที่ต้องการลดน้ำหนัก ให้ทำวันเว้นวัน เป็นเวลา 3 เดือน2. กรณีสตรีหลังคลอด ให้ใช้ความร้อนต่ำๆ ทำทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 1 เดือน3. กรณีอัมพฤกษ์ อัมพาต ให้ใช้ความร้อนต่ำๆ ทำทุกวันๆ ละ 1 ชั่วโมง

ข้อควรระวังในการอบสมุนไพร

1. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคปอด โรคลมบ้าหมู ตกเลือด ท้องเสียอย่างรุนแรง ไข้ทับระดู ไข้สูง อ่อนเพลีย โรคติดเชื้อ ไม่ควรอบสมุนไพร2. ในขณะอบสมุนไพร ถ้ารู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก ควรออกมาพักนอกกระโจม อย่าฝืนอบต่อไป3. ระวังอย่าให้ไอน้ำร้อนลวกถูกร่างกาย ควบคุมความร้อน อย่างให้สูงเกิน 40 องศาเซลเซียส4. ไม่ควรอบนานเกินไป เพราะร่างกานอาจเสียน้ำและเกลือแร่ออกทางเหงื่อมากเกินไป จะทำให้อ่อนเพลีย ซึม ถ้าเป็นมากอาจช็อคได้ ปกติควรใช้เวลาอบทั้งสิ้น 15-30 นาที โดยพักนอกกระโจมในระหว่างการอบบ้าง

สรุปได้ว่า ตัวยาสมุนไพรส่วนใหญ่มีตัวยาที่มีสรรพคุณในการแก้เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ซึ่งเมื่อผสานกับความร้อนจากลูกประคบแล้ว ก็เท่ากับเป็นการเสริมฤทธิ์ในการรักษาซึ่งกันและกัน อนึ่ง สมุนไพรที่ใช้ตามตำรับนี้ ควรเป็นยาสด เพราะจะมีสรรพคุณดีกว่ายาแห้ง สมุนไพร เช่น เหง้าไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ต้นตะไคร้ ผิวมะกรูด มีน้ำมันหอมระเหยเป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ ถ้าเป็นยาแห้ง น้ำมันหอมระเหยจะระเหยออกไปมากแล้ว จะให้ผลในการรักษาได้น้อยกว่า ตัวยาสมุนไพรอื่นๆ ที่นิยมใช้ในตำรับยาประคบ ได้แก่ ว่านนางคำ เหง้าข่า ใบพลับพลึง หัวหอม เหง้าขิงสด ผิวส้ม หัวหอมแดง เหง้าว่านน้ำ เปราะหอม รากหญ้าคา ต้นตะไคร้ ใบส้มเสี้ยว ใบมะคำไก่ ใบคนทีสอ ใบหนาด ผักเสี้ยนผี เปลือกต้นชะลูด เปลือกต้นกุ่ม เป็นต้น ถ้าไม่สามารถหาสมุนไพรได้ครบตามตำรับก็ให้ใช้เท่าที่มี แต่สมุนไพรที่ขาดไม่ได้คือ เหง้าไพลและการบูร เพราะเป็นตัวยาสำคัญของตำรับนี้

ประโยชน์ของการประคบสมุนไพร

การประคบสมุนไพร ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้1. แก้ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ บวม แก้ปวดข้อ2. ในกรณีสตรีหลังคลอด ช่วยให้น้ำนมเดินสะดวก แก้นมคัด3. ในกรณีผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย

การอบไอน้ำสมุนไพร การเข้ากระโจม และสูดไอน้ำสมุนไพร

เป็นการใช้ตัวยาสมุนไพรต้มน้ำให้เกิดไอน้ำและน้ำมันหอมระเหย ถ้าต้องการให้ทุกส่วนของร่างกายสัมผัสกับไอน้ำและน้ำมันหอมระเหยเพื่อซับเหงื่อ ทำให้เลือดลมเดินสะดวก ผิวพรรณผ่องใสหายเมื่อยขบ ก็ต้องใช้วิธีอบไอน้ำสมุนไพรทั้งตัวหรือเข้ากระโจม แต่ถ้าเพียงต้องการให้หายใจโล่ง ก็ใช้วิธีสูดไอน้ำสมุนไพรทางจมูก ไม่ต้องอบทั้งตัวก็ได้

ตัวยาสมุนไพรที่นิยมใช้ในการอบไอน้ำ สูดไอน้ำ และเข้ากระโจม ได้แก่

    • หัวตะไคร้ (สด, แห้ง)
    • ผิวมะกรูด (สด, แห้ง)
    • ขมิ้นอ้อย (สด)
    • เปลือกส้มโอ
    • ใบส้มเสี้ยว
    • ใบพลับพลึง
    • ว่านนางคำ
    • ไพลสด
    • การบูร
    • หญ้าคา
    • ใบหนาด
    • หัวหอมสด
    • ลูกมะกรูดสด
    • ขมิ้นชันสด
    • ใบมะขามไทย
    • ใบส้มป่อย
    • ลูกกระวาน * คือตัวยาสำคัญที่ขาดไม่ได้
    • ว่านน้ำ
    • กานพลู
    • พิมเสน
    • ผักบุ้ง
    • ชลูด

 


การสัมมนาวิชาการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 2
เรื่อง “การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยการแพทย์ผสมผสาน”
วันที่ 23-24 มีนาคม 2549 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ

 

สร้างเมื่อ 28 – มี.ค.- 49

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919793
This Month : 20180
Total Users : 1529306
Views Today : 4297
Server Time : 2024-09-20