เขียนโดย : กองการแพทย์ทางเลือก

ประวัติ

ถือกันว่า ปรมาจารย์ของไท้เก๊ก คือ จางซานฟง เมื่อ 800 ปีที่แล้ว อีกหลักฐานหนึ่งชี้ว่าสืบทอดจากวิทยายุทธของตระกูลเฉินในมณฑลเหอหนานประมาณ ราชวงศ์หมิง แพร่ในสมัยกบฏนักมวยเมื่อราษฎรลุกขึ้นต่อสู้กับชาติตะวันตก เป็นไท้เก๊กถึง 5 สาขา เมื่อจีนเปลี่ยนการปกครองจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศ

  “ไท้เก๊ก” คำนี้ คนจีนเขาใช้กันมาแต่โบราณแล้ว จูซีนักปรัชญาจีนในสมัยราชวงศ์ซึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ไท้เก๊ก” คือ หลักแห่งธรรมชาติ (เต๋า) ยินหนึ่ง หยางหนึ่ง รวมเรียกว่าเต๋า (หลักแห่งธรรมชาติ) ก็คือ “ไท้เก๊ก” และไท้เก๊กมิใช่สิ่งอื่นอีกสิ่งหนึ่ง แต่คือยินหยางในยินหยาง เบญจธาตุในเบญจธาตุ และสรรพสิ่งในสรรพสิ่ง มีเพียงหลักเหตุผลเดียวเท่านั้น 

ไท้เก๊กหรือการฝึกพลังลมปราณ เป็นการบริหารร่างกายและทำสมาธิ เพื่อนำสิ่งที่เรียกว่า “ชี่” หรือลมปราณไปปรับดุลยภาพของยินหยางในร่างกาย ทำให้อวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานเป็นธรรมชาติถือว่าเป็นดุลยภาพบำบัดอย่างหนึ่ง การฝึกไท้เก๊กด้วยการนึกจินตนาการว่ากำลังกลิ้งลูกกลมสีต่างๆ ก็เป็นการบริหารร่างกายควบคู่กับการทำสมาธิด้วยเช่นกัน เพื่อนำพลังแห่งยินหยาง (พลังดุลยภาพของร่างกาย) ไปป้องกันบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ และช่วยให้มีอายุวัฒนะและการฝึกยังคงยึดหลักการเบื้องต้นของการบำบัดโรคด้วย “ชี่กง” หรือการบำบัดโรคด้วยการฝึกพลังลมปราณไว้เช่นเดิม มีหลักการการเคลื่อนไหวอย่างมีจังหวะการถ่วงดุลอย่างถูกต้องของน้ำหนักของ ร่างกายและการหายใจโดยไม่ต้องออกแรง

คุณลักษณะที่สำคัญของไท้เก๊กมีอยู่ 5 ประการ คือ

ความช้า ซึ่งช่วยพัฒนาความรับรู้
ความเบา ช่วยให้การเคลื่อนไหวไปอย่างต่อเนื่องราบรื่น
ความสมดุล ทำให้ร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ต้องเครียดเกร็ง
ความสงบ ได้มาจากความต่อเนื่องที่มีการเคลื่อนไหวแบบไหลเรื่อยเสมอกัน
ความชัดเจน คือ การชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากความคิดที่เข้ามาบุกรุก

 

ที่มา :

    – คู่มือฝึกลูกกลมไท้เก๊ก เพิ่มพลังปราณขจัด 45 โรคร้ายด้วยตัวเอง, พรพงษ์ พรายมณี แปลและเรียบเรียง
– การแพทย์นอกระบบ 177 ทางเลือกไปสู่สุขภาพ, สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิต แปลและเรียบเรียง
– บัลวีรายปักษ์ ฉบับที่ 26 : 16-30 มิ.ย. 47

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919655
This Month : 20042
Total Users : 1529168
Views Today : 3558
Server Time : 2024-09-20