ความหมายการแพทย์ทางเลือก

การแพทย์ทางเลือกคืออะไร

องค์การอนามัยโลก WHO ได้ให้คำจำกัดความของ Complementary And Alternative Medicine หรือ CAM ว่า “The term CAM often refers to a broad set of health-care practices that are not part of a country’s own tradition and are not integrated into the dominant health-care system. Other terms sometimes used to describe these health-care practices include ‘natural medicine’ , ’non-conventional medicine’ and ‘holistic medicine’.” 

แต่กระนั้น คำว่าการแพทย์ ก็มีความหมายว่า ศาสตร์ของ วินิจฉัย บำบัดรักษาหรือป้องกันโรค โดยมุ่งหมายให้มนุษย์บรรเทาจากอาการทุกข์ทรมานที่เป็นอยู่ หรือช่วยให้สามารถรักษาชีวิตหรือให้กลับมาสู่สภาวะที่ไม่เจ็บป่วยได้ ซึ่ง การแพทย์มีหลายระบบ เช่น การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์ตะวันตกหรือที่เรียกว่าการแพทย์แบบแผน (conventional medicine) การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวช การแพทย์แผนไทย เป็นต้น

ในมุมมองของคนทั้งโลกและผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือแพทย์แผนปัจจุบัน มองว่าการแพทย์ทางเลือก คือ การแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะไม่ตรงกับมุมมองของ องค์การอนามัยโลก อาจเป็นเพราะว่า องค์กรระดับโลกนี้ มี สมาชิกอยู่หลายประเทศ และแต่ละประเทศ ล้วนมีมุมมองว่า การแพทย์ประจำชาติของตนเอง ไม่ควรมีศักดิ์ศรีเป็นเพียงการแพทย์ทางเลือก จึงมีการกำหนดคำจัดความของคำว่า CAM ในปี ค.ศ. 2003 ขึ้น การจำแนกการแพทย์แพทย์ทางเลือกนั้น จำแนกได้หลายแบบ ซึ่งการจำแนกตามการนำไปใช้มีดังนี้

Complementary Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน

Alternative Medicine คือ การแพทย์ทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ทดแทนการแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากไม่สามารถบำบัดรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันได้ในขณะนั้น เช่นกรณีผู้ป่วยแพ้ยาจนไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาเป็นต้น หรือผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน

การจำแนกตามกลุ่มของการแพทย์ทางเลือก (CAM) แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

       1. Systematic CAM หรือ การแพทย์ทางเลือกที่เป็นระบบ ซึ่งมีการเรียนการสอนในระดับปริญญา มีสมาคมหรือสภาวิชาชีพมาดูแลจรรยาบรรณวิชาชีพ ได้รับยอมรับให้มีสถานะทางกฎหมายและระบบประกันสุขภาพในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 2 กลุ่มดังนี้

      1.1 Traditional Medicine หรือ การแพทย์ประจำชาติหรือการแพทย์ดั่งเดิมในแต่ละประเทศ เช่น การแพทย์แผนจีน อายุรเวช การแพทย์โฮมีโฮพาธีย์ เป็นต้น
      1.2 Nontraditional Medicine หรือการแพทย์ทางเลือก ที่มีการต่อยอดและพัฒนาต่อยอดมาจากการแพทย์ดั่งเดิม ของหลาย ๆ ชาติ มาผสมผสานกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เช่น ธรรมชาติบำบัด (Naturophathy) ออสทีโอพาธีย์ (Osteopathy) เป็นต้น
2. Nonsystematic CAM หรือ การแพทย์ทางเลือกที่ไม่จัดระบบ อาจเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิกการบำบัดของการแพทย์ทางเลือกที่เป็นระบบแล้ว หรืออาจจะเป็นศาสตร์เพียงลำพัง ยังไม่มีสภาวิชาชีพหรือสมาคมวิชาชีพเป็นการเฉพาะ และไม่ถูกจัดให้อยู่ในการศึกษาระดับปริญญา
      2.1 Folk medicine หรือ การแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งยังถึงระดับที่จะเป็นการแพทย์ประจำชาติ แต่อยู่ในชุมชนหรือพื้นที่ มีระบบการสืบทอดองค์ความรู้จากครูสู่ศิษย์ ไม่จัดเป็นวิชาชีพ สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชุมชนในแต่ละท้องที่
      2.2 Mind-body intervention เป็นการกระทำต่อตนเองโดยคำแนะนำของผู้รู้หรือครู ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น โยคะ การฝึกพลังลมปราณ หรือชี่กง สมาธิบำบัด การสวดมนต์บำบัด เป็นต้น
      2.3 ฺBiologically Base therapyโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย ทั้งอาหารเสริม วิตามินเกลือแร่ ต่าง ๆ สมุนไพร เซลล์บำบัด ชีวโมเลกุล คีเลชั่นบำบัด ซึ่งใช้กันแพร่หลายทั่วโลก
      2.4 Manipulative therapy เป็นหัตถการต่าง ๆ เช่นการนวด การดัด การดึง การจัดกระดูก Reflexology หรือการฝังเข็มแบบต่าง ๆ เป็นต้น
      2.5 Energy therapy เป็นการใช้พลังงานมาช่วยในการบำบัดด้านสุขภาพ ซึ่งยังสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
            2.5.1 ฺBiological Energy หมายถึง พลังงานบำบัดที่อาศัยสิ่งมีชีวิตในการบำบัด
                   2.5.1.1 Internal Energy พลังบำบัดที่ปล่อยออกมาจากสิ่งมีชีวิตเข้าบำบัดผู้ป่วยโดยตรง เช่นส่งกำลังภายในเข้าไปบำบัดอาการเจ็บป่วย เป้นต้น ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่า การบำบัดแบบนี้ จะได้ผลทุกครั้งเสมอไปหรือไม่ และใครสามารถทำการบำบัดแบบนี้ได้
                   2.5.1.2 External Energy การบำบัดโดยอาศัยพลังานจากภายนอก ต่าง ๆเช่น พลังกายทิพย์ พลังจักรวาล โยเร เรกิ เป็นต้น โดยอาศัยจากคลื่นพลังงาน ต่าง ๆ จากภายนอกดึงผ่านตัวผู้ให้การบำบัด หรือ Healer ส่งต่อไปยังผู้รับการบำบัด
            2.5.2 Non-Biological Energy หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้บำบัดไม่ได้อาศัยสิ่งมีชิวิต
                   2.5.2.1 Non-Machine Energy พลังงานบำบัดที่มาจากสิ่งไม่มีชิวิต ที่มนุษย์ไม่ได้ผลิตขึ้น เช่น แม่เหล็ก ผลึกหรือหินต่าง ๆ
                   2.5.2.2 Machine Energy พลังงานบำบัดที่ผลิตมาจากเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อัลตร้าซาวด์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องปล่อยรังสีต่าง ๆ เครื่องให้ความร้อน ความเย็น เป็นต้น
 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919329
This Month : 19716
Total Users : 1528842
Views Today : 2198
Server Time : 2024-09-20