โดย : อาจารย์วัลลภา สังฆโสภณ
โรงพยาบาลศิริราช

บทคัดย่อ

ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งเป็นความเจ็บปวดที่รุนแรงและเรื้อรัง และไม่สามารถขจัดความเจ็บปวดให้หายไปได้โดยเด็ดขาด อิทธิพลจากความรุนแรงของความเจ็บปวดร่วมกับความรู้สึกสิ้นหวัง ความวิตกกังวล การสูญเสียสถานภาพและบทบาททั้งในตนเอง

ครอบครัวและสังคม ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีความทุกข์ทรมานมากขึ้น ในฐานะที่พยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จึงสามารถนำกิจกรรมการพยาบาลที่ช่วยลดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วยซึ่งมีหลายวิธี เช่น การฝึกการผ่อนคลายและการเบี่ยงเบนความสนใจ เป็นต้น การเบี่ยงเบนความสนใจด้วยการฟังดนตรีจัดเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทอิสระและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของตนตรีต่อความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่รับไว้เพื่อรักษาและบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง ตึก 72 ปี ชั้น 6, 7 ตึกตรีเพชร ชั้น 1, 2 และตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 2 โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 30 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง อายุ 15 ปีขึ้นไป และได้รับยาบรรเทาปวดชนิดรับประทานกลุ่มอะเซตามิโนเฟน กลุ่มตัวอย่างทุกคนเป็นทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยได้รับการฟังและไม่ได้ฟังดนตรี นาน 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ดนตรี ในรูปของเทปบันทึกเสียง เครื่องเล่นเทปพร้อมหูฟัง แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป มาตรวัดความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของจอห์นสัน แบบสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อความเจ็บปวด และแบบสัมภาษณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับการฟังดนตรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทำค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยการทดสอบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
ระดับการเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฟังดนตรีลดลงมากกว่าไม่ได้รับการฟังดนตรี อย่างมีนัยการสำคัญทางสถิติ (p < .001)

จากการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการศึกษาวิจัยซ้ำในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดรุนแรง


ABSTRACT

Cancer’s pain is one of the most painful and distressful experience encountered by patients. At present, we have no effective measure to completely eradicate chronic cancer’s pain without its reoccurence. The negative impact of cancer’s pain always affects patients functioning capacity and thence loss of hope, anxiety and fear. Moreover, this also affects the patient’s social life and above all the family. Nurses are expected to use nursing care and available proven techniques to lesson degree of pain i.e. relaxation technique and distraction technique. Distraction technique by listen to the soothing music is an expecially effective strategies, which is an independent role of nursing and not invasive to the patient.

 

The main purpose of this research was to study the effect of music on pain and distress in cancer patient. Quasi-experimental research was implemented thirty cancer patients in the Seventy-two Building on sixth and seventh floor, Gynaelogical Building on second floor and Urological Building on second floor. Each subject was assigned to both the control and the experimental groups and given the intervention by listened and not listened to the soothing music for 30 minutes. The instruments included the soothing music (cassette), cassette player with earphone, demographic data form, Johnson’s pain and distress scales, pain behavioral record form and interview form. Data was analysed by using Paired t-test. The results were as follows:
1. Levels of pain intensity in cancer patients listening to the music were statistically less than cancer patients those not listening the music. (p < .001)2. Levels of distress intensity in cancer patients listening the music were statistically less than cancer patients those not listening the music. (p < .001)

According to the results, the researcher suggests that the distraction by listening music technique should be administered for cancer’s patients in chronic pain and distress in order to lesson pain intensity and distress. For further study, the replicated study should be done in the patient with severe pain.


 

สร้างเมื่อ 16 – พ.ค.- 49

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิชาการ (pdf)
บทคัดย่องานวิจัย (pdf)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920173
This Month : 20560
Total Users : 1529686
Views Today : 6537
Server Time : 2024-09-20