โดย : นางสาวธัญลักษณ์ เมืองมั่น
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันได้มีการศึกษาถึงคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ และพบว่าสารที่ได้จากพืชมีคุณสมบัติในการรักษา และป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ รวมทั้งโรคมะเร็งด้วย จากสมมุติฐานเกี่ยวกับพยาธิวิทยาเชื่อว่าการที่อนุมูลอิสระทำลายโมเลกุลของสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ)โปรตีน ไขมัน และ สารโมเลกุลเล็กอื่นๆในเซลล์ของร่างกาย เป็นสาเหตุในการเกิดโรคมะเร็งซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย มีการศึกษาพบว่าผักเชียงดาซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านที่นิยมรับประทานแถบภาคเหนือของประเทศไทย มีสารที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น -carotene, vitamin C, vitamin E, tannin, xanthophyll, and phenolic substances จากข้อมูลเหล่านี้จึงมีความน่าสนใจที่จะทำการศึกษาถึงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระต่อสารชีวโมเลกุลเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาไปสู่แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ต่อไป วัตถุประสงค์1. เพื่อประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดาในรูปแบบการเตรียมต่างๆ กัน2. ศึกษาผลต่อการป้องกันการการเสียหายของดีเอ็นเอ วิธีการศึกษาผักเชียงดาถูกเตรียมด้วยวิธีการ 4 แบบ ได้แก่ น้ำคั้นผักสด ส่วนที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำ สกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 และ ที่ความเข้มข้นร้อยละ 95 นำมาทำการวัดปริมาณสารประกอบฟินอลิก และทำการทดสอบคุณสมบัติการจับอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันการทำลายสาร ชีวโมเลกุลใช้วิธี DPPH assay, deoxyribose assay, hemolysis assay และ comet assay โดยใช้ 50% Inhibition concentration (IC50) ในการประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในการทดสอบทาง chemical และ % DNA damage จาก Comet III analysis software เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสารสกัดทั้ง 4 ชนิดด้วย สถิติ one-way analysis of variance (one-way ANOVA) และ Tukey multiple comparison ผลการศึกษา

พบว่าน้ำคั้นผักสดมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงและการเสียหายของดีเอ็นเอสูงสุด ส่วนสารสกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 มีปริมาณของสารประกอบฟินอลิกสูงสุด และสารสกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ95 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟินอลิกต่ำสุด

สรุปผลการศึกษา

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผักเชียงดาในรูปแบบของผักสดที่ไม่ผ่านขบวนการแปรรูปมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีและยังมีปริมาณวิตามินที่มีคุณสมบัติที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย ข้อมูลคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของผักเชียงดาด้วยการเตรียมแบบต่างๆในงานวิจัยนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค ในการพิจารณาเลือกบริโภคแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติเพื่อช่วยในการป้องกันการเกิดโรค

 

เอกสารอ้างอิง

1. Halliwell B, Gutteridge JMC. Free Radicals in Biology and Medicine. 3rd ed.Oxford Clarendon: Oxford University; 1999.2. Aggarwal B, Bharat B. Spices as Potent Antioxidants with Theraputic Potential. chapter 22 p 437 in Cardenas E, Packer L. Handbook of antioxidants New York: Marcel Dekker; 1996.3. Johanna W Lampe. Health effects of vegetables and fruits: assessing mechnisms of action in human experimental studies. Am J Clin Nutr 1999; 70: 475-90.4. A Chanwitheesuk, A Teerawutgulrag, N Rakariyatham. Screening of antioxidants activity and antioxidant compounds of some edible plants of Thailand. Food Chem 2005; 92 (3): 491-7.5. Nutritive Values of Thai Foods. ISBN: 974-515-295-1 Nutrition Division, Department of Health Ministry of Public Health, September 2001.


สร้างเมื่อ 15 – พ.ค.- 49

 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทคัดย่องานวัจัย (pdf)

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920163
This Month : 20550
Total Users : 1529676
Views Today : 6511
Server Time : 2024-09-20