ชื่องานวิจัย : แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศ (ตอนที่ 1)
ผู้แต่ง : เพ็ญธิดา   ทิพย์โยธา
ชื่อวารสาร : วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ : 3
ฉบับที่ : 2
ปีที่วิจัย : 2005
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

 

งานวิจัยที่ได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรค และแนวทางแก้ไขของการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเฉพาะของเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งได้สำรวจโดยการสัมภาษณ์คือกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรแบบเกษตรอินทรีย์รวม 28 คน และผู้ประกอบการด้านสมุนไพร 14 แห่ง (ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครปฐมผลการศึกษาพบว่า ทั้งเกษตรกร และผู้ประกอบการมีความเห็นสอดคล้องกันที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยโดยเกษตรกรต้องการให้ผู้ประกอบการรับประกันผลผลิตสมุนไพรที่ปลูกทั้งหมด เพราะการลงทุนปลูกพืชสมุนไพรปลอดสารพิษ (เกษตรอินทรีย์ต้องใช้ต้นทุนสูงและมีปัญหาเกี่ยวกับอายุสมุนไพรมีเพียงไม่เกินหนึ่งปี เพราะหมดคุณภาพ นอกจากนี้เกษตรกรก็ยังขาดความรู้ในการป้องกันตนเอง เวลาบดพืชสมุนไพร และมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลให้การสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันกลับมานิยมใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางสื่อต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น และควรส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายในการปลูกพืชสมุนไพรปลอดสารพิษเพื่อใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนให้กับผู้ประกอบการ

สำหรับด้านผู้ประกอบการก็มีทัศนะว่าประชากรร้อยละ 60 ไม่เคยรู้เรื่องสมุนไพรจึงต้องเร่งสร้างกระแสให้ประชาชนเกินความนิยมรวมทั้งแพทย์ยังไม่ค่อยยอมรับการใช้สมุนไพรรักษาคนไข้ เพราะขาดงานวิจัยรับรองนอกจากนี้ยังขาดโรงงานผลิตยาสมุนไพรดังนั้นรัฐบาลควรให้การส่งเสริมเกี่ยวกับสมุนไพรค่อนข้างน้อย และผู้ประกอบการได้เสนอแนะให้ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นทางเลือกของสุขภาพพึ่งตนเองของประชาชน รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นระบบ เช่น สร้างกลไกการส่งเสริมให้โรงพยาบาลของรัฐใช้สมุนไพรในการรักษาโรคควบคู่ด้านสมุนไพรไปกับการใช้ยาด้านแผนปัจจุบันรักษาโรค ควรตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารต่างประเทศ หรือลงในวารสารของไทยที่เป็นที่ยอมรับ ใช้สัตว์ทดลองทดสอบความเป็นพิษของสมุนไพร เป็นต้น

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : เพ็ญธิดา ทิพย์โยธา

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921611
This Month : 21998
Total Users : 1531124
Views Today : 4216
Server Time : 2024-09-21