โดย : รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จากประสบการณ์ของผู้เขียนว่า พบว่า เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายเป็นภาวะที่หนักใจ ทั้งแพทย์ พยาบาลผู้ดูแล และญาติสำหรับผู้ป่วยเอง แม้บางรายญาติไม่ต้องการให้ผู้ป่วยทราบว่าระยะสุดท้ายของชีวิตกำลังใกล้จะมาถึงแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่

จะรับรู้ด้วยตนเองและพยายามจัดการกับตัวเองแม้จะไม่พูดตรง ๆ ส่วนใหญ่จะบอกว่าอยากกลับบ้าน ภายใต้ความรู้สึกอยากกลับบ้าน มีความต้องการมากมายของผู้ป่วยที่เราไม่ทราบ และเราคิดว่าการอยู่โรงพยาบาลจะได้รับการดูแลที่ดีกว่ามีอุปกรณ์ มีผู้มีความรู้ ความสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ดีกว่า ผู้ป่วยเองก็ไม่สามารถที่จะจัดการกับตนเองได้ในภาวะที่กำลังอยู่ในระยะวิกฤตของชีวิตเช่นนั้น ญาติเองก็ไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไรดี

การดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตไม่มีสูตรตายตัวแต่เป็นองค์รวมของชีวิต องค์รวมของบริบทที่เกี่ยวข้อง สภาวะของโรคและการรักษาพยาบาล ภาวะเศรษฐกิจ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตและความตาย พื้นฐานความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี และที่สำคัญคือ สติและปัญญาที่จะผสมผสานให้เกิดความลงตัว ความพอดี ตามสถานการณ์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด กรณีศึกษาจากผู้ป่วยจะช่วยให้เราเห็นแนวทางในการดูแลในแต่ละบริบท การถอดบทเรียนจากประสบการณ์จะช่วยให้ได้องค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น

 

จากหนังสือ : รวบรวมองค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

บรรณาธิการ : นางภัคภร ช่วยคุณูปการ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทความ : เรียนรู้จากสถานการณ์จริง : การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ตายอย่างสงบ โดย : รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์

 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5918822
This Month : 19209
Total Users : 1528335
Views Today : 182
Server Time : 2024-09-20