ชื่องานวิจัย : เปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก Myofascial Pain Syndrome ด้วยการนวดไทยกับอัลตร้าซาวด์
ผู้แต่ง : กิติยา   โกวิทยานนท์
ชื่อวารสาร : Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ : 8
ฉบับที่ : 2-3
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลพุทธชินราช
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

หลักการและเหตุผล:ผู้ป่วยปวดคอจาก myofascial pain syndrome (MPS) พบได้บ่อยในคลินิก การรักษามีทั้งวิธีนวดไทยแบบตั้งเดิมและอัลตร้าซาวด์ อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาถึงผลการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวน้อยมาก

วัตถุประสงค์:เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยปวดคอจาก MPSด้วยวิธีนวดไทยกับวิธีอัลตร้าซาวด์

วิธีการศึกษา:เป็นการศึกษาเชิงปริมาณในผู้ป่วยปวดคอจาก MPS 44  คน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 22 คนโดยวิธีจับฉลากกลุ่มแรกรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์ กลุ่มที่สองรักษาด้วยวิธีนวดไทยสัปดาห์ละ 3 วันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนและหลังสิ้นสุดการรักษาวัดช่วงการเคลื่อนไหวของคอผู้ป่วยด้วยเครื่อง cervical range of motion (CROMประเมินระดับความเจ็บปวดโดย visual analog scale (VAS) ตอบแบบประเมินความเจ็บปวดขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (functional rating index: FRI) และประเมินความพึงพอใจหลังรักษา เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังรักษาด้วย paired t-test, Wilcoxon signed rank test และระหว่างกลุ่มด้วย independent t-test และ Mann-Whitney U test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการศึกษา:การเคลื่อนไหวของคอโดยรวมหลังรักษาทั้งวิธีนวดไทยและอัลตร้าซาวด์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.001 ทั้งสองวิธีระดับความเจ็บปวดและคะแนนความเจ็บปวดขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังรักษาทั้งสองวิธีลดลง (ค่าพี = 0.001 ทั้งสองวิธีการเคลื่อนไหวของคอโดยรวมและระดับความเจ็บปวดทั้งก่อนและหลังรักษาระหว่างสองวิธีไม่แตกต่างกัน แต่ค่าคะแนนความเจ็บปวดขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังรักษาของกลุ่มนวดไทยลดลงมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.044) อีกทั้งกลุ่มนวดไทยพึงพอใจต่อการรักษามากกว่า (ค่าพี = 0.014)

สรุป:ทั้งการรักษาด้วยการนวดไทยและอัลตร้าซาวด์ในผู้ป่วยปวดคอ MPSสามารถเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของคอลดระดับความเจ็บปวด และคะแนนความเจ็บปวดในขณะทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การนวดไทยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และผู้ป่วยพึงพอใจมากกว่าการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้รักษาผู้ป่วยปวดคอจากMPS ด้วยการนวดไทยให้มากขึ้น

คำสำคัญ:  การนวดไทยการนวดรักษาอัลตร้าซาวด์ปวดคอกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อผังผืด

Rationale: Patients with cervical pain caused by myofascial pain syndrome (MPS) are commonly found in clinics. Thai traditional massage and ultrasound have been used as treatment methods for MPS. However, little is known about the effects of those methods. Objective: To compare outcomes of treatment between Thai traditional massage and ultrasound in patients with cervical pain from MPS. Method: From 2005 to 2007, 44 patients with cervical pain from MPS participated in this study. The subjects were randomly divided into two groups and treated in three sessions a week for four weeks. The first group was treated with ultrasound and the second group with Thai massage. Cervical range of motion (CROM), pain levels using visual analog scale (VAS), functional rating index (FRI) before and after treatments, and patients’ satisfaction after treatments were measured. Comparative analyses of data before and after the treatment used were subjected to paired t-test and Wilcoxon signed-rank test. Between groups were analyzed by independent t-test and Mann-Whitney U-test, with the level of significance being 0.05. Result: CROMvalues were increased significantly after the Thai massage and ultrasound treatments (p = 0.001). VAS and FRI decreased significantly after both treatments (p=0.001). There was no difference on CROM and VAS in comparison between the two treatments. FRI in the Thai massage group was better than in the ultrasound group (p = 0.044). In addition, patients’ satisfaction was significantly greater in the Thai massage group (p = 0.014). Summary: Both Thai massage and ultrasound can significantly increase CROM and decrease pain scores and pain during daily living activities in patients with cervical MPS. Thai massage enhances their ability to perform daily activities and produces greater patient satisfaction when compared with ultrasound. Therefore, we encourage the use of Thai massage in patients with cervical pain caused by MPS.

 

Key words: Thai massage, traditional massage, ultrasound, cervical myofascial pain syndrome

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : กิติยา โกวิทยานนท์ และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920996
This Month : 21383
Total Users : 1530509
Views Today : 709
Server Time : 2024-09-21