เขียนโดย นพ.บุรินทร์ หวังจิรนิรันดร์

ย้อนไปเมื่อสมัย 1,000 ปีก่อน

ชาวอินเดียแดงเผ่ามายาและชาวเจมบาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองใน New South Wales ประเทศออสเตรเลียได้ใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อ โดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความรู้นี้มาจากบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่น สู่รุ่น และในประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกถึงประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่าติด เชื้อโดยหนอนแมลงวัน (Maggot) เมื่อปี 1829 โดยนายแพทย์ Baron Dominic Larrey ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์และแพทย์ประจำพระองค์ในสมัยพระเจ้านโปเลียนซึ่งพบถึง ประสิทธิภาพนี้ในขณะ ที่ทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม

ในปี 1929 นายแพทย์ William Baer ศัลยกรรมชาวอเมริกันซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ ที่ Johns Hopkins School of Medicine ในรัฐ Maryland ซึ่งนับเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) สมัยใหม่ได้ทำการศึกษาวิจัยการรักษาด้วยหนอน (Maggot) อย่างจริงจัง โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และได้เผยแพร่ความรู้นี้สู่สาธารณชน ส่งผลให้วิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด(Maggot therapy) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและในช่วงปี ค.ศ. 1940 โรงพยาบาลในอเมริกันมากกว่า 300 แห่ง ได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยและบริษัท Lederle ซึ่งเป็นบริษัทยาก็ได้ผลิตหนอน (maggot) ออกขายสู่ท้องตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Sulfa ขึ้นทำให้ Penicillinเริ่มจางหายไปจากวงการแพทย์

จวบจนกระทั่งในปี 1995 ที่ประเทศเยอรมันก็ได้มีการฟื้นฟูวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด(Maggot therapy) ขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาแผลเรื้อรังซึ่งมีประชากรที่ต้องอยู่ในสภาวะนี้ มากกว่า 3 ล้านคนโดยแผลที่เนื่องมาจากเบาหวานว่าเป็นอาการที่พบได้น้อย และสถาบันต่างๆ ของเยอรมนีเช่น German Diabetis Society (Deutsche Diabetesgesellschaft) และ German Society for Angiology (Deutsche Gesellschaft fuer Angiology) ได้ทำการประเมินขั้นตอนการวินิจฉัยโรค, การรักษา และสภาวะการฟื้นตัวของผู้ป่วย จากโรคเบาหวาน และพบว่าการรักษาด้วยหนอนบำบัด(Maggot therapy) นั้นทำให้ผู้ป่วยประมาณ 10,000 รายไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเท้าหรือแขนทิ้งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มของโรคและจากรายงานทางการแพทย์จากคลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิรต์ ตั้งแต่ปี 1999 คลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ตได้นำลักษณะการบำบัดรักษาด้วยหนอนแมลงวันมาใช้กับการักษาบาดแผล คนไข้ที่มีการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปกติได้ ซึ่งหลังการนำมาทดลองใช้ดังกล่าว พบว่า บาดแผลที่ได้ให้หนอนแมลงวันในการรักษานั้นสะอาดได้ในชั่วพริบตา คนไข้ซึ่งได้รับการรักษาบาดแผลโดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นประจำจะพบว่าบาดแผล ของเขาจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากหยุดพักหรือทิ้งช่วงระยะเวลาในการบำบัดด้วยวิธีดังกล่าว สภาพของบาดแผลก็จะกลับมาแย่อีกครั้ง

คำถามพื้นฐานได้เกิดขึ้นว่าในการบำบัดรักษานั้น ผู้เข้ารับการบำบัดจะรู้สึกขยะแขยงหรือไม่ ?
– การบำบัดด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ได้รับการยอมรับจากผู้ป่วย ผู้ดูแลการรักษาและบุคลากรทางการแพทย์ในทรรศนะคติที่น่าเชื่อถือ คนโดยทั่วไปจะรู้สึกว่าหนอนนั้นให้ความรู้สึกน่าขยะแขยงเมื่อเห็น เนื่องจากสิ่งที่แมลงเหล่านี้จะกินเป็นอาหารนั้นได้แก่ของเสียและซากศพ ผู้คนจึงต่อต้านเนื่องจากกลัวว่าหากให้แมลงดังกล่าวอยู่ฆ่าเชื้อของบาดแผล อาจจะกินลึกลงไปถึงเนื้อของเราก็ได้ ซึ่งความกลัวดังกล่าวไม่มีเหตุผลและสามารถอธิบายได้จากวงจรชีวิต ตลอดจนวิธีการรับอาหารของหนอนชนิดนี้อย่างชัดเจนดังต่อไปนี้

Lucilia sericata คือ แมลงวัน มีอยู่มากมายหลากหลายพันธุ์ โดยประมาณได้ว่ามีมากถึง 120,000 สายพันธุ์ (species,sp) ทั่วโลก และประมาณ 10,000 sp. ที่ สามารถพบได้ในภาคพื้นที่ยุโรป Lucilia sericata เป็น species ที่อยู่ใน genus green bottles (Lucilia) หนอนของแมลงวัน หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาละตินว่า Lucilia นั้น มีการนำมาใช้ในการรักษาแผลเรื้อรัง วิวัฒนาการของแมลงวันเริ่มต้นจากไข่ที่ได้วางไว้บนซากเนื้อแล้วพัฒนาไปเป็น หนอนแมลงวัน

หนอนเหล่านี้จะผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์ของเนื้อเยื่อ ที่ตายแล้วและดูดส่วนที่ย่อยแล้วไปเป็นอาหารซึ่งหนอนแมลงวัน (Maggot) นี้จะย่อยสลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กัดกินเนื้อดี ดังนั้นการกัดกินแบบลึกๆ ตามที่เข้าใจนั้นจะไม่พบในสัตว์ประเภทนี้

หนอนแมลงวันเติบโตได้สูงสุด 12 มิลลิเมตร ภายในเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นก็จะทิ้งซากเนื้อเพื่อจะพัฒนาไปเป็นหนอนดักแด้ในสิ่งแวดล้อมที่ แห้งต่อไป

หลังการที่นำหนอนดังกล่าวมาใช้ในการทำลายเชื้อโรคในบาดแผลเนื้อตาย (Necrosis) ก็คือหนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosis (เนื้อตาย) ให้เป็นของเหลวและหลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลและทำให้แผล สะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแผล และข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีการดังกล่าวนี้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)

ข้อบ่งชี้/รายละเอียดในการใช้ : ใช้กับผลต่างๆ ดังนี้
– Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
– Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
– Ulecrs cruris
– MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่นๆ
– Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
– Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ
– Burns แผลไหม้
– Thormbangilis obiterans
– Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุ

ระยะเวลาในการใช้
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ครั้ง แรกที่ใช้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความใหญ่ของบาดแผลด้วย ทันทีที่บาดแผลสะอาดก็สามารถสิ้นสุดการบำบัดรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวได้
จากส่วนหนึ่งที่ได้ทำการทดลอง เราได้รับผลตอบรับในทางที่ดีจากผู้ป่วยในแง่ของการใช้วิธีการดังกล่าวในการ บำบัดถึง 7 ครั้ง ในรายที่บาดแผลไม่ใหญ่นักจะใช้การบำบัดด้วยวิธีดังกล่าว 2-3 ครั้ง ก็มีหลายรายที่ได้ใช้บำบัดด้วยวิธีดังกล่าวเพียงครั้งเดียว

ผลข้างเคียง
ตามทฤษฎีแล้ว การบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ในบางครั้งอาจจะเกิดเลือดไหลออกที่บริเวณรูขุมชนซึ่งเป็นลักษณะหรือสัญญาณ ที่ดีสำหรับการหล่อเลี้ยงของเลือด
ตามประสบการณ์ที่ผ่านมานั้นไม่บ่อยครั้งนักที่จะเกิดปัญหาในเรื่อง ของความเจ็บปวด ถึงแม้ 90% ของผู้ที่เคยทดลองวิธีการดังกล่าวจะรู้สึกจั๊กจี้และขยะแขยงและนอกจากนี้คน ไข้รายหนึ่งจากจำนวนหลายรายที่ได้ใช้ BioMaggot เล่าถึงประสบการณ์การใช้หนอนบำบัดว่า “คุณแม่เป็นแผลกดทับหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและทานยาละลายลิ่ม เลือด ทำให้ไม่สามารถเล็มเนื้อตายได้เนื่องจากมีเลือดซึมจากแผลตลอดเวลา ต่อมาได้ทราบถึงประโยชน์ของหนอนบำบัดจากนั้นได้ปรึกษากับทางครอบครัวและเข้า ไปดูข้อมูลจากเวบไซต์ต่างๆเห็นว่าเมืองนอกได้รักษาแผลด้วยวิธีนี้มานานแล้ว และได้ผลดีจึงตัดสินใจใช้และพบว่าแผลดีขึ้นเป็นระยะๆและพอใจกับผลการรักษา” คุณช่อเพชร ลุลิตานนท์ กล่าว

จากการใช้หนอนบำบัดในการรักษาแผลเรื้อรังนั้นเราสามารถสรุปประโยชน์ได้ คือ
· ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
· เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อทีสร้างขึ้นใหม่
· ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
· ลดความเจ็บปวด
· ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
· หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
· ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ

วิธีใช้ Biomaggot กับแผลชนิดต่างๆ และการนำออกจากแผล
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
· อุปกรณ์ทำแผล
· น้ำเกลือเข้มข้น 0.9%
· Skin barrier (หากต้องใช้)
· ผ้าพันแผลอย่างบาง และถุงขยะ
· BioMaggot ประกอบด้วย Biobag ขนาด 5×6 cm ซึ่งมีตัวอ่อนของ Maggot (หนอนสายพันธุ์จากประเทศเยอรมนี)ประมาณ 200 ตัว

วิธีการเก็บรักษา
เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องและห้ามโดนแสงแดด หากไม่ได้ใช้ทันทีให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียสและให้ใช้ BioMaggot .ภายใน 24 ชั่วโมงนับจากวันผลิต

วิธีการใช้ Biobag
1. ใช้ปิดแผลเรื้องรังต่างๆ เช่น แผลเรื้อรังจากจากโรคเบาหวาน แผลจากการติดเชื้อโดยทั่วไปและแผลเนื้อตายต่างๆ
2. ควรนำ Biobag มาใช้ปิดปากแผลในวันที่รับมาทันที หากยังไม่ได้นำมาใช้ สามารถเก็บไว้ได้ 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 8-10 c และสามารถใช้ BioMaggot ได้ 3 วัน
· ล้างแผลด้วยน้ำเกลือเข้มข้น 0.9% และวาง Biobag บนแผลโดยตรงโดนหันด้านใดด้านหนึ่งขึ้นก็ได้
· อย่าวาง Biobag ทับขอบแผล ไม่ต้องปกปิดหนังส่วนที่ดี อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ skin barrier บางๆ ได้หากว่ากังวล(เช่น Cavilon,skin prep)
· วางผ้ากอซที่ชุบน้ำให้ชื้นเพียงเล็กน้อยทับ Biobag เพียงเบาๆ
· คลุม Biobag และผ้ากอซชื้นด้วยผ้าซับแผลตามที่ต้องการ และใช้ผ้าพันแผลเพื่อยึด Biobag กับผ้าซับแผลโดยพันผ้าดังกล่าวไม่ต้องแน่นหนา
· ห้ามใช้ผ้าพันแผลแบบทึบ เพราะ maggot ต้องการอากาศหายใจ
· วาง Biobagไว้กับแผลต่อเนื่อง 3-4 วัน แล้วประเมินการรักษา
. สามารถเปลี่ยนผ้าพันแผลชั้นนอกได้บ่อยตามที่ต้องการ โปรดจำว่าปริมาณของน้ำเหลืองจะเพิ่มขึ้นและกลิ่นจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ สามารถทำความสะอาดได้เมื่อเปลี่ยนผ้าพันแผลชั้นนอก หากจำเป็นต้องมีการศัลยกรรมเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายออกจากบาดแผลในขณะที่ Maggot ยังคงใช้งานได้อยู่ สามารถนำ Biobag ถุงเดิมมาใช้ได้อีกใน 24-48 ชั่วโมงอาจใช้ Biobag ซ้ำได้หากจำเป็นและเมื่อเนื้อเยื่อตายถูกกำจัดออกจากแผลหมดแล้ว สามารถใช้วัสดุปิดแผลทั่วๆ ไปได้

คำเตือน : ห้ามใช้ BioMaggot กับแผลที่ทายาด้วย Antiseptic เด็ดขาดแต่สามารถใช้ได้กับแผลที่ผู้ป่วยได้รับยา Antibiotic

การนำ Biobag ออกจากแผล
· หากเป็นไปได้ วางถุงขยะไว้ใต้แผล
· ดึงผ้าพันแผลชั้นนอกออกทิ้งลงถุงขยะ
· นำ Biobag ออกจากแผลและทิ้งลงถุงขยะ
· ทำลายถุงขยะโดยการเผาภายใน 5 วัน

การรักษา บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดย maggot
บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ในทางการแพทย์มิได้หมายความเฉพาะ บาดแผลที่เกิดจาก ไฟไหม้หรือ น้ำร้อนลวกเท่านั้น แต่ยังรวมถึง บาดแผลที่เกิดจากของเหลวที่มีความร้อน วัตถุที่มีความร้อน สารเคมีบางชนิดที่มีฤทธิ์ทำลายชั้นผิวหนัง หรือแม้กระทั่งแสง หรือรังสีบางชนิด

การรักษาผู้ป่วย ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก มีตั้งแต่เล็กน้อย จนซับซ้อนยุ่งยาก สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะได้แก่ 
ระยะแรก ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บขั้นรุนแรง จะมีภาวะช็อก จากการขาดน้ำอย่างรุนแรง
ระยะที่สอง การรักษาบาดแผล
ระยะที่สาม การฟื้นฟูสมรรถภาพ จากความพิการที่เกิดขึ้น
ระยะที่สี่ การติดตามรักษา และการป้องกันความพิการใหม่

การรักษาผู้ป่วยที่มีการเจ็บขั้นรุนแรง อาจใช้เวลานอนรักษาในโรงพยาบาลนานหลายเดือน จนเป็นปี ระยะที่ใช้เวลามากที่สุด คือการดูแลบาดแผล สำหรับหลักการ การดูแลบาดแผล คือ การรักษาสภาพแวดล้อมของแผลให้ แผลหายเอง ให้เร็วที่สุด ในกรณีที่แผลสามารถหายเองได้ แต่กรณีที่บาดแผลมีความลึกมาก ต้องรีบกำจัดเนื้อตาย แล้วทำการปลูกถ่ายผิวหนังใหม่

การรักษา โดยการจำกัดเนื้อตาย ที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การผ่าตัด แต่การรักษาโดยการผ่าตัดก็พบปัญหา ได้แก่ 
การผ่าตัดอาจต้องกำจัดเนื้อดีบางส่วนที่สามารถหายเองได้
การผ่าตัดแต่ละครั้งต้อง ดมยาสลบ
การผ่าตัด มีการเสียเลือดมาก
อาจต้องทำการผ่าตัดหลายครั้ง

การรักษาที่อาจเป็นตัวช่วยในระยะ การดูบาดแผล ได้แก่ การรักษาโดยการใช้หนอน (maggot therapy) คุณสมบัติที่ดีของ การรักษาโดยการใช้หนอน คือ สามารถกำจัดเนื้อตายได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องดมยาสลบ หรือ ทำในห้องผ่าตัด แต่มีข้อจำกัด ในกรณีบาดแผลมีความลึกมาก รวมถึงข้อจำกัดในแง่ทัศนคติ

    เรียบเรียงโดย : งานถ่ายทอดเทคโนโลยี กองการแพทย์ทางเลือก

ที่มา : การบรรยายวิชาการ เรื่อง “หนอนบำบัด” โดย นพ.บุรินทร์ หวังจิรนิรันดร์ วันที่ 29 มิถุนายน 2548 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมเบญจกูล สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919314
This Month : 19701
Total Users : 1528827
Views Today : 2146
Server Time : 2024-09-20