โดย : รศ.ดร.อาภรณ์ เชื้อประไพศิลป์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ความเป็นมา
 สมาธิบำบัดทางการพยาบาลเป็นผลงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้หลักพุทธรรมในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ได้รับเคมีบำบัด และประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่ผสมผสานภูมิปัญญาตะวันออก ทั้งด้านการป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู ดูแลเยียวยาสุขภาพของผู้รับบริการที่มีปัญหาหลากหลาย

ทฤษฎี / ภูมิปัญญาที่อธิบายสมาธิบำบัดทางการพยาบาล

– หลักพุทธรรม ( ขันธ์ 5 โภชฌงค์ 7 อินทรีย์ 5 พละ 5 อิทัปปัจยาตา ที่มาของกฎแห่งกรรม)- พลังปราณ (Pranic Healing)- การใช้จินตนาการ (Guided Imagery, Creative Visualization, Visualization)- สัมผัสรักษา (Therapeutic Touch)- จิตประสาทภูมิคุ้มกันวิทยา (Psychoneuroimmunology : PNI)แนวคิดสมาธิบำบัดทางการพยาบาล

– คน เป็นระบบที่มีชีวิต ประกอบด้วย กายและจิต (เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ) ที่มีความเกี่ยวข้อง พึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน และสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมและ จักรวาล- คน เป็นหน่วยชีวิตที่มีพลังงาน มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่นอยู่เสมอ- คน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ (สิ่งแวดล้อม และ จักรวาล)- สุขภาพเป็นความสมดุลของกาย จิต จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม- การสูญเสียความสมดุลและความเคลื่อนไหว ยืดหยุ่น ทำให้เสื่อมสุขภาพ- สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของบุคคลมีการแลกเปลี่ยนพลังอยู่เสมอ- การพยาบาลเป็นการช่วยเหลือให้การปรับตัวทั้งภายในร่างกายของคน คนกับสิ่งแวดล้อมและจักรวาลอยู่ในภาวะสมดุล- พยาบาลสามารถช่วยปรับพลังโดยการเปลี่ยนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนพลัง (Transformation/interchange) ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม/จักรวาล และช่วยให้สนามพลังรอบร่างกาย (Energy field) สมดุลขั้นตอนการใช้สมาธิบำบัดทางการพยาบาล มีดังนี้คือ

1. สร้างสัมพันธภาพแบบดุลยภาพ2. สำรวม กาย วาจา ใจ3. ปรับจิตให้ตั้งมั่นเป็นธรรมชาติ4. ตั้งจิตอธิษฐาน อาราธนาขอพลัง5. ขอขมาเจ้ากรรมนายเวร6. สัมผัสเยียวยา7. ผ่อนคลาย8. กำหนดสติ ทำสมาธิ9. ประเมินพลัง10. กวาดล้าง-ดึงพลัง-เติมพลัง11. ปรับสมดุล12. แผ่เมตตาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิบำบัด

– จิตที่ตั้งมั่น ลุ่มลึก สงบเย็น- ระลึกรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง- มองทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ เป็นปัญญา- สิ่งขัดขวางสมาธิบำบัด คือ โลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา อาฆาต พยาบาท ยึดมั่น ถือมั่น วิตกกังวล- ความเชื่อ ความศรัทธา ประสบการณ์และหลักฐานที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการทำสมาธิ- ความอดทนพากเพียรทำอย่างต่อเนื่อง ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน (ผู้ป่วยบอกว่า “ทำวันละ 4 ครั้งเหมือนทานยาหลังอาหารและก่อนนอน ไม่ได้ทำเหมือนไม่ได้อาบน้ำ”)- บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่สงบทักษะการดูแล

– การประเมินสถานการณ์- การสร้างบรรยากาศ- ความเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ- การเหนี่ยวนำให้เกิดความนิ่งของจิตและการผ่อนคลาย- การให้ความรู้ ให้ปัญญาเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงการเหนี่ยวนำ ชี้ทาง บอกทาง

– ประสานกาย – จิต- เปลี่ยนจิต เปลี่ยนใจ (ให้ปัญญา)- ประคบประหงมจิตวิญญาณ (ความดี ความงาม กุศล ผลทาน)- แผ่เมตตา- ขอขมาเจ้ากรรม นายเวร- เหนี่ยวนำด้วยคำพูด เสียงสวดมนต์ เสียงระฆัง (ระฆังแห่งสวรรค์)- ผู้เหนี่ยวนำ ผู้ชี้ทาง ต้องมีความตั้งมั่นแห่งจิต ความสงบไม่เช่นนั้นจะทำให้การเหนี่ยวนำติดขัดไม่รื่นไหล ทำให้ผู้รับการบำบัดไม่สงบผลของสมาธิบำบัด

– ลดอัตราการใช้พลังงานของร่างกาย- ลดความเครียด ความดันโลหิต คลอเลสเตอรอล- แก้ภาวะวิกฤตของชีวิต- ช่วยให้ชีวิตมีประสิทธิภาพ- สร้างเสริมสุขภาพ- รักษาโรคการประยุกต์ใช้สมาธิบำบัดทางการพยาบาล

พยาบาลผู้ให้การบำบัดศึกษาและลงมือฝึกสมาธิเพื่อให้สามารถใช้สมาธิในการประสานกายและจิต ให้กายและจิตเป็นหนึ่งเดียว ใช้จิตที่เป็นสมาธิเยียวยาผู้รับบริการตามขั้นตอนที่กล่าวมา โดยมีข้อบ่งใช้คือ ใช้ผสมผสานการรักษาในกรณีที่ผู้รับบริการรู้สึกสับสน วุ่นวาย ตื่นตระหนก (panic) เครียด กังวล กลัว ปวด นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียนจาการให้เคมีบำบัด เตรียมผู้รับบริการก่อนผ่าตัด ทำหัถการต่างๆ ก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ โดยทั่วไปใช้ได้ทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้การปรับตัวของร่างกายให้เกิดความสมดุลของกาย-จิต-สังคม-จิตวิญญาณ และในรายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเซลล์ เพื่อสร้างความสมดุลของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพในร่างกายและเพื่อสร้างความสมดุลของปราณ (พลังแห่งชีวิต, Chi, Ki)สำหรับผู้ป่วยมะเร็งควรประเมินภาวะสุขภาพอย่างครอบคลุมเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและบริบทของผู้ป่วยอย่างถ่องแท้เพื่อช่วยให้เกิดความสมดุล ความพอดี ในการปรับตัวต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยสามารถทำสมาธิได้ด้วยตนเองและเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงของการมีชีวิตอยู่กับมะเร็งซึ่งต้องเข้าใจตัวเอง เข้าใจโรค เข้าใจวิธีการรักษาและเยียวยาตนเอง

บรรณานุกรม
1. Kelly J, Jacgueline R D. An introduction to music therapy: Helping the oncology patient in the ICU. Crit Care Nurs Q.1996;18(4):54 602. Beverly W,Nahama J,G. Quantification of Effects of Listening to Music as a Noninvasive Method of Pain Control. Scholary Inguiry for Nursing Practice: An International. 1992; 6(1):43-57.3. Marion G. Relaxation Techniques for Surgical Patients. AJN/May 1995 (39 42).4. Marion G. Effects of relaxation and music on postoperative pain: a review. Journal of Advanced Nursing. 1996; 24:905 914.5. Bailey, L.M. Music’s Soothing charms. American Journal of Nursing. NOV 1985; :1280.6. Julie A.S.Music and pattern change in chronic pain. Adv Nurs Sci.1993;15(4):27 36.7. Regina M H, Kathleen C, Mary F, Susan E G. The Use of Music During the Immediate Postoperative Recovery Period. AORN Journal 1997;65(4):777 785.8. Holly C. Music Therapy as a Nursing Intervention. JPN 1997; 35(3):34 379. Buckwalter K, Hartsock J. Music Therapy. Jn:Bulechek Gm., McCloskey JC. Editors. Nursing Intervention: Treatment for nursing diagnosis. Philadephia: Sanders WB. Company; 1985. P 58-6910. Cook JD. Music as an intervention in the oncology setting. Cancer Nursing 1986; 9(1): p 23-2811. Beck SL. The Therapeutic use of music for cancer relates pain. Oncology Nursing Forum 1991; 18(8): p1327-133712. Radziewicz RM., Schneider SM. Using Diversional Activity to Enhance Coping. Cancer Nursing 1992; 4(8): p293-29813. Smith M, Casey L,Johnson D , Gwede C , Riggin OZ. Music as a therapeutic intervention for anxiety In patients receiving radiation therapy. Oncology Nursing Forum 2001; 28(5):855-6214. Maxwell T, Givant E, Kowalski MO . Exploring the management of bone metastasis according to the Roy s Adaptation Model. Oncology Nursing forum (2001) 28(7):1173-8115. บำเพ็ญจิต แสงชาติ ผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บและจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด (โรคระบบทางเดินปัสสาวะ). วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล;252816. โฉมนภา กิตติศัพท์ ผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวดและความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;253617. วัลลภา สังฆโสภณ ผลของดนตรีต่อความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล; 253618. มณฑารพ สระแกทอง ผลของดนตรีที่ชอบต่อการลดความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการขูดมดลูกทางนรีเวชกรรม. โครงร่างวิทยานิพนธ์สาขาการเจริญพันธุ์และวางแผนประชากร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล; 254520. จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี ผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่.กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหิดล;2546

สร้างเมื่อ 17 – พ.ค.- 49

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5918661
This Month : 19048
Total Users : 1528174
Views Today : 7501
Server Time : 2024-09-19