รายงานการศึกษา เรื่อง ประสิทธิผลการส่งเสริมการรักษาโรคเบาหวานด้วยโยคะ

ผู้แต่ง :
   สิริพิมล    อัญชลิสังกาศ
ชื่อวารสาร :
วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก
ปีที่ :
3
ฉบับที่ :
3
ปีที่แต่ง :
2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) :
สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษานำร่องการพัฒนารูปแบบโยคะสำหรับโรคเบาหวาน  เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (guasiexperimental research)  แบบ  Pre-test-Post-test  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการส่งเสริม  การรักษา  โรคเบาหวานด้วยโยคะ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสมุทรปราการและศูนย์สุขภาพชุมชน  ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมุทรปราการ  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 29 คน  มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวด้านการรับประทานยา  การรับประทานอาหาร  การออกกำลังกาย   โดยให้กลุ่มตัวอย่าง  มีการฝึกทักษะปฏิบัติโยคะพร้อมครูฝึก  และฝึกด้วยตนเองที่บ้านตามสื่อวีดีทัศน์      ครั้งละ  30 – 40 นาที  ฝึก 1 ครั้งต่อสัปดาห์  เป็นเวลา 12 ครั้ง   รวมเป็นระยะเวลา 3 เดือน   มีการเก็บข้อมูลและประเมินระดับตัวชี้วัดในการประเมินโรคเบาหวาน  ได้แก่  ระดับน้ำหนัก  ระดับดัชนีมวลกาย                   ระดับความดันโลหิตสูง  ระดับน้ำตาลในเลือด  (FBS)  และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี  (HbA1C)  ก่อนและหลังการทดลอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ  การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติเชิงวิเคราะห์  ได้แก่การทดลองค่าที   ( T- Test )  ผลการศึกษา พบว่า  ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้วยโยคะ  กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ย  ตัวชี้วัด  ในการประเมินโรคเบาหวาน  ระดับน้ำหนัก  ระดับดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด  (FBS)  และระดับฮีโมโกลบินเอวันซี  (HbA1C)   ดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้วยโยคะอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

A pilot study in patients with type 2 diabetes was designed as quasi experiment and Pre-test-Post-test  in order to see effectiveness of yoga in treatment of diabetes. 29 subjects were purposively selected from diabetes clinics and community health centres of  Samutprakarn Hospital, according to inclusion criteria and their willingness to participate.  Activities for subjects at the beginning were practicing meditation, learning about appropriated eating habit and exercises and practicing yoga with a yoga instructor. Then they were asked to practice yoga by themselves at home, according to media self Wikipedia video, 30-40 minutes each time 3 times a week and practice with the instructor 40-60 minutes each time once a week for 3 month period. Data including diabetes indicators (body mass index, blood pressure, fasting bood sugar, hemoglobin), before and after the experiment were collected and evaluated.  Frequency , percentage, mean, standard variation were statistically analysed (T-test). The result showed that weight, BMI, FBS and HbAlC of patients after joining  the Yoga program significantly decreased at the 0.05 level.


เอกสารฉบับเต็ม(PDF) 

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5919305
This Month : 19692
Total Users : 1528818
Views Today : 2123
Server Time : 2024-09-20