ชื่องานวิจัย : ภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคแผลเปื่อยในช่องปาก: กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์
ผู้แต่ง : ศิราภรณ์ มหาโคตร, สุจารี พนมเขต, บรรลือ สังข์ทอง,    วิกิต ประกายหาญ, กฤษณ์ พงษ์พิรุฬห์
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลกมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างร่วมกับวิธีการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (ethnobotany)แผลเปื่อยในช่องปาก เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ แผลแอฟทัส (aphthous ulcer) หรือ “แผลร้อนใน” ซึ่งเป็นโรคที่เกิดกับคนเราเกือบทุกคนและอาการไม่รุนแรง สำหรับการรักษานั้นจะเป็นแบบการรักษาประคับประคองตามอาการเช่นการรับประทานยาแก้ปวดแก้อักเสบ ทั้งการรักษาแบบการแพทย์แผนปัจจุบันและการรักษาแบบการแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งในปัจจุบันนี้การรักษาแบบการแพทย์พื้นบ้านในประเทศไทยเริ่มลดลงเนื่องจากขาดการรวบรวมและบันทึกข้อมูล และหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ หากไม่มีการรวบรวมไว้อาจทำให้สุญหายได้ สำหรับการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคแผลเปื่อยในช่องปากจากหมอพื้นบ้านจังหวัดกาฬสินธุ์

ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์หมอพื้นบ้านจำนวน 20 คน พบว่ามีการใช้ยาตำรับ (formulation) 5 ตำรับและใช้สมุนไพรเดี่ยว 17 ชนิด เมื่อตรวจสอบชนิดพืชทั้งในตำรับและพืชเดี่ยว พบว่ามีการใช้พืชสมุนไพรทั้งหมด 28 ชนิด (species) จากทั้งหมด 16 วงศ์ (Family)และวงศ์ที่มีการใช้มากที่สุดคือพืชในวงศ์ถั่ว (Fabaceae, synonym Leguminasae)จำนวน 9 ชนิด และส่วนของพืชที่ใช้มากที่สุดคือเปลือกต้นของพืช จำนวน 10 ชนิด และเมื่อพิจารณาการใช้งานของหมอพื้นบ้านจำนวน 20 คนพบว่า พืชที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุดคือหมาก (Areca catechu Linn.)จำนวน 12 คน และ Sesbania grandiflora (Desv.) Linn.จำนวน 11 คนสมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพืชในวงศ์ถั่วที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน (astringent)และมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตามการพิสูจน์ฤทธิ์ในการรักษาของสมุนไพรยังคงต้องทำต่อไปเพื่อยืนยันฤทธิ์ในการรักษา

คำสำคัญ: แผลในช่องปาก สมุนไพร หมอพื้นบ้าน พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ศิราภรณ์ มหาโคตร และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920153
This Month : 20540
Total Users : 1529666
Views Today : 6458
Server Time : 2024-09-20