ชื่องานวิจัย : ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโปรเกรสซีพต่อความวิตกกังวลในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม
ผู้แต่ง : กาญจนา    มยุระสุวรรณ
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 3 ฉบับที่ 1
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2010
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของญาติผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโปรเกรสซีพกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม จำนวน 40ราย แบ่งเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันมากที่สุดในเรื่องของ ระดับคะแนนของความวิตกกังวล และระยะเวลาในการให้การดูแลผู้ป่วย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบโปรเกรสซีพ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของญาติผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามและแบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ นำไปหาค่าความเที่ยงได้เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติ Dependent-testและสถิติ Independent t-testผลการวิจัยพบว่า  ความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมฯ ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ  ความวิตกกังวลหลังได้รับโปรแกรมฯ ของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this quasi-experimental study were to examine the effect of using Educative-Supportive Care combined with Progressive Muscle Relaxation Program on anxiety among family caregivers of patients with advanced cancer. Forty family caregivers of patients with advanced cancer from inpatient of King Chulalongkorn Hospital were divided into the experimental group and the control group with 20 in each and were matched in terms of anxiety score and caring duration. The experimental group received the Educative and Supportive Care combined with Progressive Muscle Relaxation Program while the control group received routine nursing care.  The instrument for collecting data was the State-Trait Anxiety Inventory form Y-1 and was tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .78. Data were analyzed using t-test. Major results were the post test anxiety of the experimental group was significantly lower than at the pre-test phase (p< .05) and the post test anxiety of the experimental group was significantly lower than that of the control group (p< .05).

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : กาญจนา มยุระสุวรรณ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921425
This Month : 21812
Total Users : 1530938
Views Today : 3048
Server Time : 2024-09-21