ชื่องานวิจัย : ผลของโปรแกรมการจัดการอาการเจ็บปวดด้วยตนเอง โดยเน้นหลักอริยสัจสี่ต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับเคมีบำบัด
ผู้แต่ง : ศิริพร   เสมสาร
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 2 ฉบับที่ 3
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการอาการเจ็บปวดด้วยตนเอง โดยเน้นหลักอริยสัจสี่ต่อความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับเคมีบำบัด  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่เข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัด แบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 40 คน คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กําหนด สุ่ม เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการอาการเจ็บปวดด้วยตนเองโดยเน้นหลักอริยสัจสี่  ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  แบบประเมินความเจ็บปวด Brief  Pain  Inventory  และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อจัดการกับความเจ็บปวด  ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .94และ.84 ตามลำดับ  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย     ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบความแปรปรวน  และสถิติทดสอบที  ผลการวิจัย พบว่า  ความเจ็บปวดภายหลังการทดลอง 7 วันและ14วัน ของกลุ่มทดลอง น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of the PRO-SELF Pain Control Program emphasizing the four Noble Truths on pain in head and neck cancer patientsreceiving chemotherapy. The participants consisted of 40 cancer patients receiving chemotherapy at EENTDepartment of Ramathibodi Hospital. The patients were divided into an experimental group and a control group by a matched-pair technique. The research instrument was the PRO-SELF Pain Control Program. This program has four dimensions: a) Problem Assessment & Needs Identification, b) Provision of Information, c) Skill Buiding, d)Supportive care. The collecting data was instrument Brief  Pain  Inventory(BPI). It was validated by a panel of experts. The Cronbach’s alpha coefficient of pain was 0.94. A self care behavior questionnaire was also used to monitor the experiment. The instrument was validated by a panel of experts. The Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaire was 0.84. Statistical techniques used in data analysis were percentage, means, standard deviation,Repeated Measure of Analysis of Variance and  t-test.  Major results were as follows:  The 7 days and 14 days posttest pain of the experimental group were significantly lower than at the pretest phase (p<.05) and lower than those of the control group (p<.05).

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ศิริพร เสมสาร

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921430
This Month : 21817
Total Users : 1530943
Views Today : 3064
Server Time : 2024-09-21