ชื่องานวิจัย : ผลของการใช้ Eupatorium perfoliatum ต่อการควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับชุมชน:การศึกษาข้อมูลย้อนหลังของชุมชนศีรษะอโศกและชุมชนโดยรอบ จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง : มณฑกา   ธีรชัยสกุล
ชื่อวารสาร : วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 2 ฉบับที่ 1
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2009
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ Eupatorium perfoliatum (EP)ขนาด 200C (รูปแบบโฮมีโอพาธีย์) ต่อการควบคุมไข้เลือดออกในชุมชนศีรษะอโศก (หมู่ 15)และชุมชนโดยรอบ (หมายถึงชุมชนที่มีพื้นที่ติดกับชุมชนศีรษะอโศก คือ หมู่ 1, 3 และ 17)ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (Retrospective Study) เก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2544  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2551

ระเบียบวิธีวิจัยของการศึกษามี 3 กระบวนการ คือ 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิทุกชนิดที่เกี่ยวข้อง 2) การวิจัยโดยออกภาคสนาม (Field research)โดยทำการสำรวจพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมโรค การสังเกตสภาพแวดล้อมของแต่ละชุมชน การสำรวจความคิดเห็นของคนในชุมชนศีรษะอโศกต่อยา EP และการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างกับผู้นำชุมชน และ 3) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) 4 กรณีศึกษา คือ ผู้นำยา EP มาใช้ในชุมชน 2 กรณี และผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้ยา EP 2 กรณี โดยมีเครื่องมือของงานวิจัย คือ แบบเก็บข้อมูลทุติยภูมิ แบบสำรวจพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมโรค แบบสังเกตสภาพแวดล้อมของบ้านเรือน แบบสำรวจความคิดเห็นของคนในชุมชนศีรษะอโศกต่อยา EPแบบสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน และประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีผู้นำยา EP มาใช้ในชุมชน ผู้ที่มีประสบการณ์การใช้ยา EPในชุมชน

ผลการวิจัยปรากฏว่า จากค่ามัธยฐานของอุบัติการณ์ไข้เลือดออก (ต่อแสนประชากร) ทั้ง 2 ช่วงเวลา คือ ก่อนและหลังการใช้ยา EPพบว่า หมู่ 1 มีอุบัติการณ์ไข้เลือดออกสูงที่สุด รองลงมา คือ หมู่ 15 (ชุมชนศีรษะอโศก) หมู่ 17 และหมู่ 3 ตามลำดับ ผลจากการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกทั้งหมด พบว่า หมู่ 3 มีโอกาสในการเกิดไข้เลือดออกน้อยที่สุด และหมู่ 1 มีโอกาสในการเกิดไข้เลือดออกมากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ชุมชนทั้ง 4 แห่งนี้ (หมู่ 15 หมู่ 1 หมู่ 3 และหมู่ 17) มีปัจจัยพื้นฐาน ทั้งขนาดหลังคาเรือน ขนาดประชากรในพื้นที่ แนวคิดในการอยู่ร่วมกัน กติกาพื้นฐานภายในชุมชน  ความเข้มแข็งของชุมชน ลักษณะการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน แต่กลับพบว่าชุมชนหมู่ 3 และหมู่ 15 (ชุมชนศีรษะอโศก)  ไม่มีอุบัติการณ์ไข้เลือดออกหลังการใช้ยา EP    จากการสำรวจในหมู่ 15 (ชุมชนศีรษะอโศก) พบว่า ทั้งช่วงก่อนและหลังการรับประทานยา EP นั้นไม่พบว่ามีเหตุปัจจัยใด ๆ ที่แตกต่างกันทั้งแนวทางการดำเนินชีวิต ความเข้มแข็งของชุมชน อีกทั้งข้อมูลจากพื้นที่ระบุว่าสถานีอนามัยมีแนวทางการป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย และโครงการรณรงค์ที่ปฏิบัติมาโดยตลอดไม่แตกต่างกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวที่เกิดขึ้นเพื่อการควบคุมไข้เลือดออก คือ การให้คนในชุมชนศีรษะอโศกรับประทานยา EP    ยิ่งไปกว่านั้น จากผลการสำรวจความคิดเห็นของคนในชุมชนศีรษะอโศกต่อการใช้ยา EP  จำนวน 118 คน พบว่า คนในชุมชนศีรษะอโศกไม่มีความเชื่อ หรือความคิดเห็นพิเศษในทางบวกต่อยา EP กล่าวคือ มีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่เชื่อว่ายา EP สามารถป้องกันไข้เลือดออกได้

จากผลการวิจัยครั้งนี้กล่าวได้ว่า มาตรการป้องกันไข้เลือดออกด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และการมีพฤติกรรมการป้องกันยุงกัดมีความสำคัญต่ออุบัติการณ์การเกิดโรค  เช่น ในชุมชนหมู่ 3  อย่างไรก็ตาม การรับประทานยา EP ขนาด 200 C อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการควบคุมไข้เลือดออกเช่น ในชุมชนศีรษะอโศก ซึ่งควรมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องเพื่อค้นหาคำตอบที่ชัดเจนต่อไป

เอกสารฉบับเต็ม(PDF) : 
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : มณฑกา ธีรชัยสกุล

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5921435
This Month : 21822
Total Users : 1530948
Views Today : 3077
Server Time : 2024-09-21