ชื่องานวิจัย : ผลของการรักษาด้วยการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายต่ออาการปวด ความรุนแรงของอาการปวด และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างของคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลตรัง
ผู้แต่ง : รามิล เจริญผล, นงนุช ตรีรัตนพันธ์    จันทร์จิรา ชูแสง, ชญาภา สุขวิจิตร
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. ตรัง จ. ตรัง
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :
บทคัดย่อ
            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) แบบแผนการทดลอง 1 กลุ่มวัดก่อน-หลัง (One group pretest-posttest design) เพื่อศึกษาผลของการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกายต่ออาการปวด ความรุนแรงของอาการปวด และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างที่มารับการรักษาที่คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลตรัง จำนวน 13ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความเจ็บปวด (Visual Rating Scales: VRS)  และแบบประเมินความรุนแรงและข้อจำกัดในกิจวัตรประจำวันจากอาการปวดหลัง (Oswestry Disability Index: ODI) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที (t-test) คือ Paired t-test

ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างหลังการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (±S.D. = 2.91 ± 0.76) ต่ำกว่าก่อนการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ร่างกาย (±S.D. = 5.31 ± 1.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 คะแนนเฉลี่ยความรุนแรงอาการปวดของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างหลังการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (±S.D. = 0.92 ± 1.04) ต่ำกว่าก่อนการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ร่างกาย (±S.D. = 1.69 ± 1.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ข้อจำกัดในกิจวัตรประจำวันจากอาการปวดหลัง) ของผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่างหลังการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย (±S.D. = 17.09 ± 9.47) ต่ำกว่าก่อนการปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย ร่างกาย (±S.D. = 31.38 ± 12.74) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01



คำสำคัญ:        ปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย อาการปวดหลังส่วนล่าง โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 1 หลัง

โรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ 3 หลัง

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : รามิล เจริญผล และคณะ

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920305
This Month : 20692
Total Users : 1529818
Views Today : 7403
Server Time : 2024-09-20