ชื่องานวิจัย : ผลของการนวดปรับมดลูกเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนของหมอพื้นบ้าน: กรณีหมอปรุง
ผู้แต่ง : นางสาว   ณวรา    สวนอินทร์
ชื่อวารสาร : เอกสารรวบรวมบทความวิชาการ (Proceedings)
ปีที่ : –
ฉบับที่ : –
ปีที่วิจัย : 2018
หน่วยงาน/องค์กร/สถาบัน(หลัก) : รพ. ตรัง จ. ตรัง
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ(Abstract) :

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบแผนการทดลองคือ 1 กลุ่ม แบบวัดซ้ำ (One-group repeated measure design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดปรับมดลูกเพื่อลดอาการปวดประจำเดือนของหมอพื้นบ้าน กรณีศึกษาหมอปรุง สมุทวงศ์วิริยะ ซึ่งเป็นหมอพื้นบ้านใน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีองค์ความรู้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน และภาวะมีบุตรยาก ให้รักษาแก่คนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงมานานถึง 40 ปี โดยแนวคิดการเกิดอาการปวดประจำเดือนของหมอปรุงคือ การที่มดลูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งปกติ เนื่องจากสาเหตุได้แก่ การผ่านการตั้งครรภ์ การยกของหนัก และการนั่งยอง ๆ การรักษาโดยการนวดคลายเส้นบริเวณหลัง ขา ขาหนีบ และท้องน้อย เพื่อปรับมดลูกให้เคลื่อนกลับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดประจำเดือนที่มารักษาในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลตรัง  ระหว่างวันที่ 1ธันวาคม 2560ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และยินดีรับการรักษาด้วยการนวดปรับมดลูกโดยวิธีการของหมอพื้นบ้าน จำนวน 12ราย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความปวดแบบตัวเลข (Visual Rating Scales: VRS) การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ One way- ANOVA และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วย Scheffe ว่าอาการปวดประจำเดือนของการวัดครั้งใดแตกต่างกันบ้าง ส่วนการทดสอบว่าข้อมูลมีการแจกแจงแบบโค้งปกติ (Normality) ด้วย Shapiro-wilkผลการศึกษา พบว่าการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปวดประจำเดือนในเดือนก่อนการนวดปรับมดลูก การปวดหลังการนวดปรับมดลูก และหลังการนวดปรับมดลูกในเดือนที่ 2พบว่า การประเมินอาการปวดประจำเดือนในช่วงเวลาแตกต่างกัน อาการปวดประจำเดือนแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 ดังนั้นจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ว่าอาการปวดประจำเดือนของกลุ่มตัวอย่างจากการประเมินอาการปวดประจำเดือนก่อนการนวดปรับมดลูก หลังการนวดปรับมดลูก และหลังการนวดปรับมดลูก 2 เดือน มีความแตกต่างกันบ้าง ด้วย Scheffe ซึ่งผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปวดประจำเดือนในเดือนก่อนการนวดปรับมดลูก การปวด หลังการนวดปรับมดลูก และหลังการนวดปรับมดลูกในเดือนที่ 2 รายคู่ พบว่า ระดับอาการปวดประจำเดือนของกลุ่มตัวอย่างหลังการนวดปรับมดลูก 2 เดือน มีอาการปวดต่ำกว่าหลังการนวดปรับมดลูก (Mean difference = -1.17,S.D. = 0.72) และต่ำกว่าก่อนการนวดปรับมดลูก (Mean difference = -4.42, S.D. = 0.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นสรุปได้ว่าอาสาสมัครที่ได้รับการนวดปรับมดลูกจากหมอปรุงมีแนวโน้มระดับอาการปวดประจำเดือนในรอบปัจจุบันลดลงหลังการนวดปรับมดลูก และหลังการนวดปรับมดลูก 2 เดือน

คำสำคัญ: นวดปรับมดลูกปวดประจำเดือน หมอพื้นบ้าน

ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(เอกสารฉบับเต็ม) : –
บทความสั้น(Text): –
ลิงค์ไปยังเว็ปหลัก(บทความขนาดสั้น) : –
เจ้าของงานวิจัย : ณวรา สวนอินทร์

โมบายแอปพลิเคชัน

 

กรมการแพทย์แผนไทยฯ


สามารถติดต่อเราผ่าน Line

 

ได้แล้ววันนี้

ติดตาม กองการแพทย์ทางเลือก

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่

       


กองการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
อาคาร 2 ชั้น 6 และชั้น 7 กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ : 02 591 7007 ต่อ 2607
โทรสาร : 02 149 5637
อีเมล์ : Thaicam2019@gmail.com

5920177
This Month : 20564
Total Users : 1529690
Views Today : 6560
Server Time : 2024-09-20